แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัจจุบันและปัญหาการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.02 การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.45 การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย ด้านการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.41 การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย ด้านการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.06 การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย และด้านจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.03 การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยตามลำดับ
ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูร่วมกันศึกษามาตรฐานการศึกษาของชาติ นโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความต้องการของชุมชน บริบท ความพร้อม เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา 2) การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูร่วมกันตัดสินใจกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของสถานศึกษา 3) การดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา 4) การประเมินผลและตรวจ สอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา คณะกรรมการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาจัดทำรายงานสรุปผลการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและ 6) การจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง ส่งเสริมให้ครูรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ตรงกับประเด็นพิจารณาตามมาตรฐานการศึกษาและค่าเป้าหมายความสำเร็จที่สถานศึกษาประกาศไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ, “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา”, 3 สิงหาคม 2566, https://www.moe.go.th ( 3 August 2566).
จตุภูมิ เขตจัตุรัส. การศึกษาผลกระทบของการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2560.
จำนงค์ จั่นวิจิตร. การศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 2559.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสมุทรสาคร, 3 สิงหาคม 2566, http://www.oic.go.th/INFOCENTER 23/2364/. ( 3 August 2566).
สำนักทดสอบทางการศึกษา. แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา, 2561.