ศึกษาวิเคราะห์หลักเกณฑ์การพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก

Main Article Content

พระมหาดำรงค์ ปชฺโชตชโย
พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ
เสนาะ ผดุงฉัตร
พระปลัดณัฐยุทธ โฆสิตวํโส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การพรากชีวิตในพระไตรปิฎก 2) เพื่อวิเคราะห์การพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก โดยผุ้วิจัยได้มุ่งเน้นที่การศึกษาพระวินัยเป้นหลัก ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และเชิงเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ตำราวิชาการทางพระพุทธศาสนา บทความ วารสาร และงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัย พบว่า การพรากชีวิตในพระไตรปิฎกบ่งถึง ต้องมีความจงใจ ใช้กายหรือสิ่งที่เนื่องด้วยกายฆ่าเองหรือสั่งให้ฆ่า พรรณนาคุณแห่งความตาย อันเป็นเหตุให้มนุษย์ตาย ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุทันที ความพยายามในการกระทำการพรากชีวิตมนุษย์ มี 5 คือ (1) สาหัตถิกประโยค ความพยายามด้วยกายของตน (2) นิสสัคคิยประโยค ความพยายามด้วยอาวุธ (3) อาณัตติกประโยค ความพยายามด้วยการสั่งคนอื่น (4) ถาวรประโยค ความพยายามด้วยอุปกรณที่อยู่กับที่ (5) วิชชามยประโยค ความพยายามด้วยการร่ายมนต์ และ(6) อิทธิมยประโยค ความพยายามด้วยการประกอบฤทธิ์ ความพยายามทั้ง 6 ประการนี้ทำให้พระภิกษุผู้กระทำต้องอาบัติตามวัตถุ ตามสมควรแก่ความพยายาม และความสำเร็จในการพรากชีวิต แนวทางในการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ในพระไตรปิฎก พบว่ามี 5 แนวทาง ได้แก่ 1) บุญกิริยาวัตถุ ประกอบบุญกุศล 2) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักปาริสุทธิศีล สำรวมระวังด้วยศีล 3) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ เลือกฟัง ใช้ปัญญาตรอง 4) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักพรหมวิหาร มีการวางตัวเป็นผู้ใหญ่ และ5) แนวทางการป้องกันการพรากชีวิตมนุษย์ตามหลักกัลยาณมิตตา มีความสอดส่องดูแลตามสถานภาพของตน เพื่อความบริสุทธิ์แห่งตัวพระภิกษุสงฆ์ ไม่สร้างความเดือดร้อนสูญเสียให้ใคร เป็นเนื้อนาบุญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของชาวโลก สืบไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ, “ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการขัดเกลากิเลสที่ปรากฏในสัลเลขสูตร”,วารสารบัณฑิตศาส์น มมร.(มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย), ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๕๙): ๑-๑๑.

ทิพากาญจน์ ประภารัตน์. “ศึกษากุศลจิตที่ปรากฏในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.

ประวิทย์ เปรื่องการ. “ศึกษาวิเคราะห์อาคาริยวินัยกับเกณฑ์ตัดสินการล่วงละเมิด” สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

พระกิตติ กิตฺติสาโร (จ่ามเงิน). “การบรรเทาอกุสลมูลด้วยพละ ๕”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธศาสน์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐.

พระชูชาติ ญาณวีโร. “การุณยฆาตในสังคมไทยและเกณฑ์ตัดสินในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.

พระมหาคงษร โฆสิโต. “การศึกษาขันติและโสรัจจะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.

พระมหาธวัชชัย ธมฺมรํสี, พระปลััดพีระพงษ์ ฐิตธมฺโม, นิติกร วิชุมา และธนกร ดรกมลกานต์, “วิเคราะห์การฆ่าในพระพุทธศาสนา”, Journaal Of Roi Kaensarn Academi, ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๒ (ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖): ๔๘๓-๔๙๖.

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช). พระวินัยบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๖๑.

พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ (ศิริวรรณ). “หลักการพึ่งตนเองเชิงพุทธบูรณาการในสังคมไทย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.

พระมหาวสันต์ กิตฺติโสภโณ (สอนศรี). “ศึกษาวิเคราะห์เรื่องความมีวินัยที่ปรากฏในมงคลสูตร”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.

พระมหาศุภชัย ปิยธมฺมชโย (ติวาปี). “พุทธจริยศาสตร์กับโทษประหารชีวิต”. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๔๕.

พระศรีวิสุทธิโกศล (กิตติวัฒน์ กิตฺติวฑฺฒโน). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์มหาปรินิพพานสูตร: ศึกษาเฉพาะกรณีการรักษาพระธรรมวินัย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

รัฐพล เย็นใจมา และสุรพล สุยะพรหม, “ความขัดแย้งในสังคม: ทฤษฎีและแนวทางแก้ไข”, วารสาร มจร สังคมศาสตรปริทรรศ, ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๒ (เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๑): ๒๒๔-๒๓๘.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับขยาย. กรุงเทพ มหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก, ๒๕๖๒.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป. อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับขยาย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก, ๒๕๖๒.

อภิโชค เกิดผล และพระมหาบุญไทย ปุญฺญมโน, “การพรากชีวิตมนุษย์ในทัศนะพุทธจริยศาสตร์”,วารสารปรัชญาปริทรรศน์, ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๕): ๓๐๓-๓๑๖.