วิเคราะห์อุปัชฌายวัตร-สัทธิวิหาริกวัตรในวัตตขันธกะ คัมภีร์จูฬวรรค พระวินัยปิฎก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำสอนเรื่องอุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตร ในบริบทที่เป็นแนวคิดและหลักการปฏิบัติเพื่อสร้างความสามัคคีกลมเกลียวในสังคมสงฆ์จากการศึกษาพบว่า การที่พระพุทธองค์บัญญัติให้ภิกษุถืออุปัชฌายวัตรและกำหนดให้พระอุปัชฌาย์ต้องปกครองดูแลสัทธิวิหาริกนั้น เป็นหลักประกันว่า กุลบุตรผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาจะได้รับการศึกษาตามหลักไตรสิกขาอย่างแน่นอน การที่กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายกระทำวัตรต่อกันก็เพื่อให้เกิดประโยชน์คือ เพื่อลดทิฏฐิมานะของศิษย์ ให้มีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์อันจะเป็นการง่ายในการฝึกหัดพัฒนาด้านอื่น ๆ และเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกัน จะได้เกิดความสนิทสนมสมานสามัคคีและอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรมีประโยชน์ต่อสังคมสงฆ์ทั้งในภาวะปกติและในภาวะที่เกิดความขัดแย้ง กล่าวคือ ในภาวะปกติ การที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำอุปการะต่อกันสิ่งที่เกิดแน่นอนคือ ความสมานสามัคคีอย่างแนบแน่นระหว่างพระอุปัชฌาย์กับสัทธิวิหาริกและรวมทั้งพระภิกษุร่วมพระอุปัชฌาย์เดียวกันหากเกิดความขัดแย้งหรือเกิดอธิกรณ์ การที่สงฆ์มีอุปการะต่อกัน การแก้ปัญหาก็จะเกิดขึ้นโดยง่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะมีความเคารพยำเกรงกัน บางปัญหาก็แก้ได้ เพราะเห็นแก่พระอุปัชฌาย์หรือเพราะมีความเคารพยำเกรงในพระอุปัชฌาย์ซึ่งถือว่าเป็นเสมือนผู้ให้กำเนิดในโลกแห่งพระพุทธศาสนา อุปัชฌายวัตรและสัทธิวิหาริกวัตรจึงเป็นสายสัมพันธ์เพื่อความสามัคคีในหมู่สงฆ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก ๒๕๐๐. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.
_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
กรมการศาสนา. คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา. ๒๕๔๒.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. พฤติกรรมการบวชของคนไทย. รายงานผลการวิจัย คณะอักษรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ๒๕๕๗.
ป.หลงสมบุญ. พจนานุกรม มคธ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: เรืองปัญญา. ๒๕๔๙.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). สอนนาค-สอนฑิต ชีวิตพระ ชีวิตชาวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม. ๒๕๔๒.
______. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๔๐.
______. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๔๐.
______. สถานการณ์พระพุทธศาสนา กระแสไสยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิพุทธธรรม. ๒๕๔๐.
พระโมคคัลลานเถระ. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. พระมหาสมปอง มุทิโต แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: ประยูรพริ้นท์ติ้ง. ๒๕๔๗.
พุทธทาสภิกขุ. คำสอนผู้บวชพรรษาเดียว ฉบับสมบูรณ์ของพุทธทาส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา. ๒๕๓๗.