การเสริมสร้างความสุขตามแนวสติปัฏฐาน ๔
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการเสริมสร้างความสุขในสังคม 2) เพื่อศึกษากระบวนการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางทางการเสริมสร้างความสุขตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ของสำนักปฏิบัติธรรมจังหวัดน่าน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม ในพื้นที่จังหวัดน่าน ทำการเก็บข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรมจำนวน 2 แห่ง
ผลการวิจัยพบว่า หลักการเสริมสร้างความสุขในสังคมนั้น ใช้หลักความสุข 8 มิติ 1. สุขภาพดี, 2. น้ำใจงาม, 3. การผ่อนคลาย, 4. หาความรู้, 5. การมีคุณธรรม, 6. การที่สามารถจัดการรายรับรายจ่ายของตนเองได้, 7. ความสุขของครอบครัว (ครอบครัวดี), 8. ความสุขขององค์กรและสังคม (สังคมดี) และควรยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การทำทาน การรักษาศีล การทำสมาธิ การปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักการให้การเสียสละ เจริญพรหมวิหาร และปฏิบัติตามหลักสาธารณียธรรม หลักธรรมเหล่านี้จะช่วยนำไปสู่ความสงบและความสุขที่แท้จริง กระบวนการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐาน 4 เป็นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน โดยการรู้เท่าทันกาย เวทนา จิต และธรรม โดยเริ่มจากกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการรู้เท่าทันกาย การเคลื่อนไหว ความรู้สึกสัมผัส ไปจนถึงอาการพองยุบของท้อง จากนั้นจึงฝึกเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการรู้เท่าทันความรู้สึกทางกายและใจ สุข ทุกข์ เฉย จากนั้นจึงฝึกจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการรู้เท่าทันจิต ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก จนถึงการแยกแยะระหว่างตัวตนกับจิต แนวทางการเสริมสร้างความสุขในสังคมตามแนวสติปัฏฐาน 4 แนวทางที่ 1 : เน้นการพัฒนาความสุขทางกายแนวทางนี้มุ่งเน้นการสร้างสุขในมิติทางกายภาพ เช่น การมีสุขภาพกายที่ดี การมีปัจจัย๔ ในการดำรงชีวิตที่เพียงพอ เป็นต้น แนวทางนี้สามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีรายได้ที่พอเพียง เป็นต้น แนวทางที่ 2 : เน้นการพัฒนาความสุขทางใจ แนวทางนี้มุ่งเน้นการสร้างสุขในมิติทางจิตใจ เช่น การมีจิตใจที่สงบร่มเย็น มีความสุข มีปัญญา เป็นต้น แนวทางนี้สามารถนำหลักสติปัฏฐาน 4 มาประยุกต์ใช้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีสติในการดำเนินชีวิต รู้จักปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น มีปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ รู้จักเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นต้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๓.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิพม์ผลิธัมม์,๒๕๕๕.
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่กังวลรัฐบาลบริหารประเทศ ของแพง-ค่าครองชีพยังสูง พ.ศ.๒๕๖๒. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1660954, [๒๓ มกราคม ๒๕๖๕].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www. nesdb.go.th/download/ article/article_20160323112431.pdf. [๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔].
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www. nesdb.go.th/download/ article/article_20160323112431.pdf. [๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๔].
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. สุขที่ได้ธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัทดีไซน์ ดีไลท์ จำกัด, ๒๕๕๖.