การประยุกต์ใช้สัมมาวายามะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “การประยุกต์ใช้สัมมาวายามะเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในสังคมปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา พบว่า สัมมาวายามะ เป็นองค์ธรรมในอริยมรรค 8 หมายถึง เพียรชอบหรือพยายามชอบ 1)พยายามระวังมิให้อกุศลธรรมที่ยังมิได้เกิด เกิดขึ้น 2)พยายามละเสียซึ่งอกุศลธรรมที่ยังเกิดขึ้นแล้ว 3.พยายามทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และเพียรงชอบ 4) เจริญกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วนั้น สัมมาวายามะหรือ ความพยายามชอบตามหลักพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายอยู่ 3 ประการ คือ เป้าหมายด้านอัตถประโยชน์ ด้านปรัตถประโยชน์ และด้านอุภยัตถประโยชน์ สำหรับในการประยุกต์ใช้สัมมาวายามะ เพื่อการพัฒนาชีวิต จำแนกออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านการศึกษา ต้องหมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ ซึ่งเป้าหมายคือปฏิเวธ 2. ด้านการทำงาน ต้องส่งเสริมให้เกิดหิริโอตตัปปะและวิริยะในการทํางาน มีความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ และไม่ทุจริตต่หน้าที่ที่รับมอบหมาย 3) ด้านการพัฒนาตัวเอง การพัฒนาต้องพัฒนาทั้งกายและจิตใจ ตามหลักภาวนา 4 และ 4) ด้านการปฏิบัติธรรม นำหลักสัมมาวายะ มาเป็นหลักในการการทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว ต้องอาศัยหลักปฏิบัติของการบำเพ็ญตบะ คือ การฝืนความต้องการของกิเลส แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) สัลเลขะ คือ การฝืนกิเลส ด้วยกำจัดกิเลสค่อยเป็นค่อยไป หรือค่อยขัดเกลากันไป และ 2) ตุตังคะ คือ การฝืนกิเลสด้วยการกำจัดกิเลสแบบหักโหมรุนแรงได้ผลทันตาเห็น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ประเสริฐ อุทัยเฉลิม. (๒๕๕๔). กลัวเกิดไม่กลัวตาย. สมุทรปราการ: ชมรมกัลป์ยาณธรรม.
พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.
________. (2539). ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
________. (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. .กรุงเทพมหานคร: บริษัทสื่อตะวัน.
พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง. พิมพ์ครั้งที่ ๘๖. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก จำกัด.
________. (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธรรม.
________. (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 26. กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก จำกัด.
พระมหาจรรยา สุทฺธิาโณ. (๒๕๔๔). ธรรมทรรศน์ปฏิวัติการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ประชาธรรม.
พระอาจารย์ชา สุภทฺโท. (๒๕๔๑). นอกเหตุเหนือผล. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
พุทธทาสภิกขุ. (๒๕๓๐). ความกลัว: พุทธศาสนา ศาสนาแห่งการบังคับตัวเอง. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
________. (2550). โพธิปักขิยธรรมประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. .(2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร : หาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์ปริ้นท์ จำกัด.
________. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร : บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุวรรณ เพชรนิล. (๒๕๓๙). พุทธปรัชญาเบื้องต้น. ภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยลัยรามคำแหง.