พุทธจริยศาสตร์การแต่งงานกับเพศเดียวกัน

Main Article Content

ธนะกิจ อินยาโส
ผศ. (พิเศษ) ดร. สรวิชญ์ วงษ์สอาด

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์ศึกษาเรื่อง “พุทธจริยศาสตร์การแต่งงานกับเพศเดียวกัน” จากการศึกษาพบว่า คำว่า “เพศ” มีอยู่ 2 ทาง คือ เพศทางกายภาพและเพศตามแนวคิดทางจิตวิทยา พุทธปรัชญาถือว่า เป็นการนิยามเพศแบบสมมติสัจจะและเป็นปรมัตถสัจจะ ด้วยความจริงแบบขันธ์ 5 ในแบบสากลเหมือนกันในระดับปัจเจกบุคคลและระดับทางสังคม ระหว่างเพศชาย เพศหญิง และกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะว่า ดี-ชั่ว เป็นเรื่องของการกระทำของปัจเจกบุคคล เพราะชีวิตทุกชีวิตล้วนมีค่าในตัวเอง และขึ้นอยู่กับการกระทำของปัจเจกบุคคล การปิดกั้นศักยภาพและความสามารถในการมีชีวิตที่ดีและการมีชีวิตที่ประเสริฐของกลุ่มความหลากหลายทางเพศจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ และการละเมิดในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มความหลากหลายทางเพศเช่นกัน เพราะว่าคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นการแสดงถึงอาการที่รักสุขเกลียดทุกข์ของปัจเจกบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญในสภาวะของความทุกข์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เป็นเรื่องที่ไม่ควรกระทำ นอกจากนี้การสร้างความเข้าใจประเด็นปัญหาดังกล่าวถือว่าเป็นการตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตนั้นเอง

Article Details

How to Cite
อินยาโส ธ., & วงษ์สอาด ผ. (พิเศษ) ด. ส. (2025). พุทธจริยศาสตร์การแต่งงานกับเพศเดียวกัน. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 11(1), 372–388. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270072
บท
บทความวิชาการ

References

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. (2545). สังคมวิทยา (Sociology). พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชูชีพ ปินฑะสิริ. (2526)“การละเมิดสิทธิส่วนตัว”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะนิติศาสตร์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). เอกภาวะในทฤษฎีสังคมร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิภาษา.

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2559). เพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สมิต.

นวม สงวนทรัพย์. เพศศึกษาแนวพุทธศาสตน์. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

นิรันดร์ ทรงนิรันดร์. ปัญหาทางกฎหมายกับการจดทะเบียนสมรสของเพศทางเลือก. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม. (2561).

ปรีชา ช้างขวัญ. (2547). การวิจัยทางมนุษย์ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2554). กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของคนข้ามเพศ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (นิธิบุญยากร). (2557). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. (2526). ปรมัตถโชติกะ ปริเฉทที่ 1-2-6. กรุงเทพมหานคร: สำนักวัดระฆังโฆสิตาราม.

พุทธทาสภิกขุ. (2556). สรรค์นิพนธ์พุทธทาสว่าด้วย: สตรีในฐานะมารดาของโลก. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มพุทธทาสศึกษามูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์.

ฟูโกต์. มิแช็ล. (2558). The chapter “les corps dociles” from Surveilleretpunir. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คส์บัพลิเคชั่นส์.

วรุณี ภูริสิน สิทธิ์. (2545). สตรีนิยม: ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษ ที่ 20. กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

วีระ โลจายะ. (2525). กฎหมายสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

สมยศ เชื้อไทย. (2552). ทฤษฎีกฎหมาย (Theory of Law): นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์วิญญูชน.

สุชาติ โสมประยูร และวรรณี โสมประยูร. (2541). เพศศึกษา (Sexuality Education). พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

สุเมธ เมธาวิทยกุล. (2532). สังกัปพิธีกรรม. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

อุดมศักดิ์ สิทธิพงษ์. (2553). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพมหานคร: สานักงานวิญญูชน.

J. Punch, (2543). Love & Life. (Bankok : Mild Publishing Co.Ltd..