การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุในสังคมไทย (1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทย (3) เพื่อนำเสนอการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 10 ท่าน
ผลการวิจัย พบว่า การดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทยเชิงพุทธบูรณาการ กล่าวคือ 1) สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ บุคคลทั่วไปและบุตรหลานควรให้สิ่งของแก่ผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามกำลังของตน มีวาจาที่อ่อนหวาน กล่าวคำสุภาพเพื่อให้กำลังใจผู้สูงอายุ มีการดูแลสุขภาวะของผู้สูงอายุตามกำลังของตน และความประพฤติตนสม่ำเสมอให้เป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ 2) พรหมวิหาร 4 ได้แก่ บุคคลทั่วไปและบุตรหลานควรมีความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อผู้สูงอายุ มีกรุณาสงสารคิดจะช่วยผู้สูงอายุให้พ้นทุกข์ พลอยยินดีเมื่อผู้สูงอายุมีความสุข และวางใจเป็นกลางในเมื่อผู้สูงอายุท่านอื่นมีความสุข หรือประสบบความทุกข์ 3) ภาวนา 4 ได้แก่ อบรมกายผู้สูงอายุให้มีความสุขตามอัตภาพของตน อบรมศีล ให้ผู้อายุตั้งอยู่ในกฎระเบียบ และกฎหมายของบ้านเมืองไม่เบียดเบียนตน และผู้อื่น อบรมจิตใจให้มีความเข็มแข็งมั่นคง และสมบูรณ์ด้วยสุขภาพจิตที่ดี อบรมปัญญาให้ผู้สูงอายุรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลาย และรู้เท่าทันโลกตามความเป็นจริง 4) ศีล 5 ได้แก่ ผู้สูงอายุไม่ควรไม่ฆ่าสัตว์ ไม่รังแกกัน ไม่เบียดเบียนกันมีจิตประกอบด้วยเมตตา ไม่ลักทรัพย์ประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่สำส่อนทางเพศ แต่จงพอใจเฉพาะคู่ของตน สำรวมระวังควบคุมกามารมณ์ให้พอเหมาะพอดี ไม่พูดเท็จพูดแต่ความจริงเท่านั้น ไม่ดื่มสุราและยาเสพติดมีสติสัมปชัญญะในการดำเนินชีวิต เมื่อผู้สูงอายุมีสติสัมปชัญญะย่อมไม่มีความประมาทในกิจการทั้งปวง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ชัยวัฒน์ อัฒพัฒน์ และวิธาน สุชีวคุปต์. หลักการดำรงชีวิตในสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2544.
บรรลุ ศิริพานิช. พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่อายุยืนยาวและแข็งแรง. รายงาน
การวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สามดีการพิมพ์. 2531.
ประเวศ วะสี. การจัดการความรู้: กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. 2548.
ปัทมา ประสาทกุล. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560.
กรุงเทพมหานคร : บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำกัด. 2561.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). นิเทศธรรม. กรุงเทพมหานคร: บริษัทแปดสิบเจ็ด (2545) จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ปอ. ปยุตฺโต).พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : ดวงแก้ว.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987). จำกัด. 2549.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท
สื่อตะวัน จำกัด. 2537.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร :
อักษรสัมพันธ์ 2544.
พระไพศาล วิสาโล. สุขแท้ด้วยปัญญา วิถีสู่สุขภาวะทางปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.. 2552.
พระมหาสมปอง ปมุทิโต. คัมภีร์อภิธานวรรณา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง. 2547.
พุทธทาสภิกขุ. ธรรมบรรยายระดับมหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระนคร. 2519.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
วรรณี ชัชวาลทิพากร. การศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มี
สุขภาพดีและมีปัญหาสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติว่าด้วย
ผู้สูงอายุสู่วัยสูงอายุ ด้วยคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบูรณ์ วัฒนะ. แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการ
มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559.