นวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อพัฒนาสติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาการสร้างนวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อพัฒนาสติ เป็นการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ/ภาคสนาม และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า พุทธศิลป์ในครั้งพุทธกาล เน้นการสร้างเพื่อประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ จึงปรากฏงานพุทธศิลป์ประเภทสถาปัตยกรรม เช่น สถูปต่าง ๆ เป็นต้น และต่อมาในยุคหลังครั้งเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว จึงปรากฏเป็นงานพุทธศิลป์ด้านประติมากรรม คือมีการสร้างพระพุทธรูปตามยุคตามสมัยต่าง ๆ ที่ตนนับถือ ผู้วิจัยเป็นผู้ที่เห็นงานพุทธศิลป์มาตั้งแต่กำเนิด จึงเกิดความคิดที่ว่าถ้าหากมีอุปกรณ์ที่ช่วยฝึกสติสำหรับผู้เริ่มต้น จะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกฝนหรือพัฒนาสติได้มากขึ้น จึงเกิดเป็นนวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อช่วยพัฒนาสติสำหรับผู้ที่เริ่มต้น จึงเกิดเป็นนวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อช่วยพัฒนาสติสำหรับผู้ที่เริ่มต้น และอีกหลายท่านที่ได้ทดลองนวัตกรรมนี้แล้ว ตอบโจทย์ในการเริ่มต้นฝึกสติ นวัตกรรมพุทธศิลป์เพื่อพัฒนาสตินี้ จึงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นฝึกฝนให้เกิดสมาธิได้ง่ายขึ้น จึงให้ชื่อว่าเป็น “ยานขับเคลื่อนจิต”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรรณิกา ณ สงขลา. “จิตรกรรมไทยประเพณี: เทคนิคและการอนุรักษ์”. ศิลปากร. ปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๕ (พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๓๒).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
ศิลปะ พีระศรี. “คุณค่าของจิตกรรมฝาผนัง”. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากรจัดพิมพ์ถวายพระภิกษุและสามเณรซึ่งมาชมหอศิลปะและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเทศกาลเข้าพรรษา, ม.ป.ป.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. ประวัติศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: บำรุงสาส์น, ๒๕๖๐.
อรวรรณ ศิลปะกิจ. (แพทย์หญิง). “การสร้างแบบประเมินสติ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
Ryan T, A Mindful Nation: How a Simple Practice Can help Us Reduce Stress, Improve Performance, and Recapture the American Spirit, California: Hay House, 2012.