วิเคราะห์ดนตรีกับการบรรลุธรรมในเถราปาทาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์แนวทางดนตรีในพระไตรปิฎก” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1)เพื่อศึกษาดนตรีในพระไตรปิฎก 2)เพื่อศึกษาแนวทางดนตรีในพระไตรปิฎก และ 3)เพื่อศึกษาวิเคราะห์ดนตรีในพระไตรปิฎก โดยมีระเบียบวิธีวิจัย คือเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า มนุษย์นอกจากเป็นผู้สร้างดนตรีขึ้นมาเพื่อความบันเทิงในกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ดนตรียังมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์ผ่อนคลายอารมณ์ทางด้านสุนทรีย์ได้ทำให้สามารถค้นหาและสร้างตัวตนจนเกิดความมั่นใจและภาคภูมิใจที่สามารถใช้ชีวิตอยู่กับคนอื่นได้ในโลกนี้ ดนตรีจึงเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงตัวบุคคลให้เข้ากับสังคมในขณะเดียวกันดนตรีก็มีส่วนปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสิ่งอื่น ๆ ในสังคม เพราะเสียงดนตรีเป็นรูปแบบแนวทางของความสุข ความสนุกสนาน มอบความบันเทิงด้านจิตใจแก่บุคคลทั่วไปแล้ว แต่เสียงดนตรีที่ปรากฏในพระไตรปิฎกก็ยังมอบสัจธรรมชีวิตว่าควรพิจารณาให้เห็นเป็นธรรมดาว่ากิจหรือหน้าที่ในการกำหนดรู้ชีวิตทุกอย่างมีขึ้นมีลงเป็นธรรมดา ควรใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทและควรอยู่บนทางสายกลาง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จำนง ทองประเสริฐ. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๐.
ธนิต อยู่โพธิ์. ดนตรีในพระธรรมวินัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระจันทร์,๒๔๙๘.
นงเยาว์ ชาญณรงค์.วัฒนธรรมและศาสนา.พิมพ์ครั้งที่ ๕.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รามคำแหง, ๒๕๔๒.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๑๙. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิกจำกัด, ๒๕๕๒.
พูนพิศ อมาตยกุล. ดนตรีวิจักษ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สยามสมัย, ๒๕๒๙.
พงศ์ศิลป์ อรุณรัตน์. ปฐมบทดนตรีไทย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๐.
พิชัย ปรัชญานุสรณ์. ดนตรีปริทรรศน์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,๒๕๔๕.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ. พุทธประวัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๘๐.
สุรพล สุวรรณ.ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แอคทีฟ พริ้นท์,๒๕๕๑.
อุดม อรุณรัตน์. ดุริยางค์ดนตรีจากพระพุทธศาสนา.นครปฐม: ศิลปากร,๒๔๙๘.