แนวคิดเรื่องความเป็นสมัยใหม่ในรวมบทกวีนิพนธ์ จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ของปาลิตา ผลประดับเพชร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวคิดสำคัญเรื่องความเป็นสมัยใหม่ในรวมบทกวีนิพนธ์จนกว่าโลกจะโอบกอดเราเอาไว้ (2565) ของปาลิตา แสงประดับเพชร์ แนวคิดเรื่องความเป็นสมัยใหม่ที่ปรากฏในรวมบทกวีเล่มนี้มีลักษณะการเสนอแนวคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยมและความคิดของสังคมซึ่งมีลักษณะความเป็นสมัยใหม่ในประเด็นที่สำคัญ คือ สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม ความเหลื่อมล้ำ เสรีภาพ และความรักอันเป็นสากลของมนุษยชาติ โดยกวีได้นำปรากฏการณ์ทางสังคมมานำเสนอเป็นเรื่องเล่าเปรียบเทียบสะท้อนแนวคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนำเสนอแนวคิดสมัยใหม่ได้อย่างชัดเจนด้วยกลวิธีประพันธ์แบบกลอนแปด โดยใช้ภาษาสมัยใหม่ที่สามารถอ่านเข้าใจได้โดยไม่ต้องตีความหรือติดพรมแดนทางภาษา การนำเสนอแนวคิดในรวมบทกวีเล่มนี้ กวีได้ใช้มุมมองแบบความเป็นสมัยใหม่มานำเสนอปรากฏการณ์ทางสังคมไทยเชิงวิพากษ์วิจารณ์และเสนอแนะด้วยความรักและความห่วงใยต่อเพื่อนมนุษย์ได้อย่างประทับใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
เจตนา นาควัชระ และคณะ ( 2546) กวีนิพนธ์นานาชาติ : การศึกษาเชิงวิจารณ์ . กรุงเทพมหานคร : คมบาง
จรรยวรรณ เทพศรีเมือง (2560) เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวรรณกรรมไทยปัจจุบัน, อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ชลธิรา สัตยาวัฒนา (2530). ผจงถ้อยร้อยเรียง. กรุงเทพมหานคร : ปลาตะเพียน.
เชษฐา พวงหัตถ์ (2559) บทความเรื่อง สภาวะสมัยใหม่และความเสี่ยง : มุมมองทางสังคมวิทยา
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ Vol. 12 No. 1 (2016): มกราคม - มิถุนายน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/eJHUSO/article/view/82215/65350
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ .บรรณาธิการ (2560) ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่ : ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย, กรุงเทพมหานคร : สยามปริทัศน์
นิตยา แก้วคัลณา.(2559) บทความเรื่อง สำนึกทางสังคมในกวีนิพนธ์ไทยในกระแสโลกสมัยใหม่. วารสารวรรณวิทัศน์. ปีที่ 16 (2016) : พฤศจิกายน 2559 https://so06.tcithaijo.org/index.php/vannavidas/article/view/73761
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ และวานิช จรุงกิจอนันต์ (2539), เรียงร้อยถ้อยคำ, กรุงเทพมหานคร : ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด
บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). แลลอดวรรณกรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ประวัติ ปาลิดา ผลประดับเพ็ชร์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ (2565) https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2568745
ดวงมน จิตร์จํานงค์ .( 25 43) “ แนวคิดสำคัญของกวีนิพนธ์ไทยในยุคโลกาภิวัตน์” วารสาร สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ฉบับที่ 6 (มกราคม - เมษายน) 1 – 13
ภาชินี เต็มรัตน์ (2557) แนวคิดสำคัญในรวมบทกวีนิพนธ์โลกในดวงตาข้าพเจ้าของมนตรี ศรียงค์ https://so01.tci-thaijo.org › article › viewFile
ภาณุทัต ยอดแก้ว (2562) ความเป็นยุคสมัยใหม่ทางพระพุทธศาสนาของไทย : กรณีศึกษาวาทกรรมด้านสิทธิมนุษยชนของพระสงฆ์ไทย, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสหวิทยาการ, วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไรเนอร์ มารีอา ริลเค (2543) จุดหมายถึงกวีหนุ่ม, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง
สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย (2547), 24 ปีซีไรต์ รวมบทวิจารณ์คัดสรร, กรุงเทพมหานคร : สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
สันติ ทิพนา (2562) ปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมที่ปรากฏในบทกวีรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561 ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (2019): มกราคม - มิถุนายน : วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
สาคร สมเสริฐ (2556) บทความเรื่อง ความแปลกแยกของมนุษย์ในสังคมสมัยใหม่, วารสารนักบริหาร Executive Journal ที่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน
สุมาลี วีระวงศ์ และคณะ. (2541).“บทวิเคราะห์และสรรนิพนธ์กวีนิพนธ์ไทย,” กวีนิพนธ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย : ประสบการณ์จากวรรณคดีไทย อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส และเยอรมัน. กรุงเทพฯ : ศยาม