แนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร เชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

อุรารัตน์ ไชยรังสี

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครเชิงพุทธบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบันของสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาหลักความรู้และหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครเชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาของสื่อสังคมออนไลน์ในปัจจุบัน ได้แก่ การหลอกลวง การทะเลาะวิวาท การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ การเสพข่าวลวง เป็นต้น ซึ่งล้วนเกิดจากกิเลสคือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ตนเอง บุคคลอื่น และสังคม หลักพุทธธรรมที่จะนำมาบูรณาการสามารถนำมาปฏิบัติใช้เป็นเครื่องมือติดตัวสำหรับการพัฒนาปัญญา ความเฉลียวฉลาด ปฏิภาณไหวพริบที่ความถูกต้องในการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิผลโดยอาศัยหลักพุทธธรรม ได้แก่ 1) หลักสติสัมปชัญญะ 2) หลักกาลามสูตร 3) หลักโยนิโสมนสิการ และ 4) หลักสัปปุริสธรรม แนวทางการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์มีอยู่ 3 วิธี คือ 1) วิธีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ส่งสาร 2) วิธีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเนื้อหา และ3) วิธีการการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของผู้รับสาร 3 วิธีนี้ต้องนำมาบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ คือการมีสติใช้สื่ออย่างระมัดระวัง อย่าเชื่อง่าย ไตร่ตรองด้วยเหตุผล และรู้จักการใช้งานให้เหมาะสม องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเรียกว่า การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ (Effective Social Media Literacy) คือSKYS” = โดยที่“S”(Sati-Sampajañña) คือ สติสัมปชัญญะ “K”(Kālāma Sutta) คือ กาลามสูตร “Y”(Yonisomanasikāra) คือ โยนิโสมนสิการ และ“S”(Sappurisadhamma) คือ สัปปุริสธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

กรุงเทพธุรกิจ.ความเสียหายจากสื่อสังคมออนไลน์,[ออนไลน์].แหล่งที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/122281 [25 กันยายน 2566].

ณิชกุล เสนาวงษ์. การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเจนเนอเรชั่นแซดในยุค New Normal ในกรุงเทพมหานคร.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม,2564.

ปิยวัช นาคเวียง. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารออนไลน์,[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6312019059/1662977054908535c4f40fe67e9d03d78a11069cde_abstract.pdf, [วันที่ 30 กันยายน 2566].

พฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานอายุ 15-59 ปีในเขตสุขภาพที่ 5 [ออนไลน์], แหล่งที่มา :https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20190619093005_3707/HealthBehaviorRegional5Area13page.pdf, [3 มีนาคม 2566].

รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. Thailand Internet User Behavior 2022 [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx [25 กันยายน 2566].

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.(2022). ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://webstats.nbtc.go.th/netnbtc/INTERNETUSERS.php [25 กันยายน 2566].