พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย

Main Article Content

พระภานุเดช จนฺทโชโต

บทคัดย่อ

หนังสือที่จะนำมาวิจารณ์ เรื่อง “พุทธทาสภิกขุ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย” เขียนโดยปีเตอร์ เอ. แจ็กสัน ชาวออสเตรเลีย นี้ เป็นหนังสือแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษโดย มงคล เดชนครินทร์ มีทั้งหมด ๑๐ บท ๕๐๓ หน้า หากนับรวมปัจฉิมบท ภาคผนวก อภิธานศัพท์ เชิงอรรถ บรรณานุกรมและดรรชนีของหนังสือด้วยจำนวนหน้าจะมีมากกว่า ๖๐๐ หน้า[1] ด้วยวัตถุประสงค์ที่ผู้เขียนพยายามจะให้ความรู้เรื่องในแนวความคิดที่ลึกซึ้งของท่านพุทธทาสภิกขุในทุกแง่มุมอย่างละเอียดถูกต้องตรงความจริง หนังสือเรื่อง พุทธทาสภิกขุ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย เขียนโดยนายปีเตอร์ เอ. แจ็กสัน นี้ จึงเป็นหนังสือที่น่าอ่านที่ดีเล่มหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เกิดความคิดเห็นที่จะได้ความคิดทางปัญญาญาณ และความเข้าใจท่านพุทธทาสภิกขุยิ่งขึ้น เพราะผู้เขียนได้นำเสนอแง่คิดของท่านพุทธทาสที่น้อยคนจะได้รู้ว่า ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นห่วงเป็นใยชาวพุทธไทยที่จะรับมือกับโลกยุคใหม่อย่างไร โดยที่จะยังคงดำรงบรรดาค่านิยมและความเชื่อที่เป็นแกนหลักของวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีของคนไทยตลอดยุคสมัยที่ผ่านมาเอาไว้ได้  ท่านพุทธทาสได้เห็นแล้วว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เป็นเสมือนทรัพยากรที่ชาวโลกจะได้ใช้เพื่อชีวิตที่ดี โดยให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยี แนวคิดและงานเขียนของท่านพุทธทาส ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับความท้าทายของโลกาภิวัตน์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๖ นี้

Article Details

บท
บทความวิจารณ์หนังสือ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต),พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,พิมพ์ครั้งที่ ๘,(กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘

ปีเตอร์ เอ. แจ็กสัน, พุทธทาสภิกขุ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และการปฏิรูปเชิงนวสมัยนิยมในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร :บริษัท วี พริ้นท์ (๑๙๙๑) จำกัด, ๒๕๕๗

ปรีชา ช้างขวัญยืน,ความคิดทางการเมืองของท่านพุทธทาสภิกขุ,พิมพ์ครั้งที่ ๑,กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘