พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่

Main Article Content

พระครูปริยัติวชิรธรรม

บทคัดย่อ

 หนังสือเรื่อง“พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่” ของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ. ดร. เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งหนังสือนี้มีจำนวน ๗๔๒ หน้า[1]ส่วนเนื้อหาภาพรวมจากหนังสือผู้เขียนได้อธิบายถึงรายละเอียดของการบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่ หรือศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม อันเป็นส่วนสำคัญในการนำมากำหนดเป็นจุดยืนในการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้เป็นไปตามกรอบวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยว่า จัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม  เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาในระดับปริญญาเอก และปริญญาโทเพื่อให้ผู้เรียนให้สามารถเข้าใจโลกตามความเป็นจริงและใช้ชีวิตอยู่เหนือโลกธรรมทั้งมวล จะเห็นได้ว่าสำหรับเรื่องพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่นี้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาค้นคว้าเพื่อหาค าตอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะในปัจจุบันศาสตร์ต่างๆ ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างมาก กล่าวคือบางศาสตร์ที่มนุษย์ประยุกต์ใช้กับชีวิตก็ได้ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางศาสตร์ที่สูญหายไปตามกาลเวลาหรือเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ไม่ได้ใช้ประโยชน์และมองไม่เห็นคุณค่า แม้กระทั่ง ศาสตร์บางศาสตร์ที่มนุษย์ยังแสวงหาคำตอบไม่ได้ในอดีตจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นศาสตร์ที่มนุษย์ต้องเพียรพยายามหาคำตอบอยู่ต่อไป ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงศาสตร์สมัยใหม่จึงนับว่าเป็นคำกล่าวที่กว้างมาก และเป็นคำกล่าวที่ใครๆ ก็มักนึกถึงวิทยาศาสตร์หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับสิ่งที่สัมผัสแตะต้องได้เท่านั้นเป็นหลัก ส่วนที่เป็นนามธรรมหรือเป็นเรื่องภายจิตใจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เข้าใจกันเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนยุคนี้ว่าไม่เกี่ยวข้องกับศาสตร์สมัยใหม่หรือวิทยาศาสตร์เลย แล้วในท้ายที่สุด การกล่าวเช่นนี้จะเป็นความจริงได้มากเพียงใดสำหรับพัฒนาการของมนุษย์ในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่สรรพสิ่งต้องยอมเดินตามวิทยาศาสตร์ เรียกกันว่าหากอะไรๆ ในสรรพสิ่งขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์แล้วการได้รับการยอมรับจากผู้คนในยุคนี้ย่อมเป็นไปได้ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาหนึ่งในบรรดาหลายๆ ศาสนาในโลกนี้ที่มนุษย์ยอมรับนับถือจะมีความเป็นไปได้ที่ไม่ขัดแย้งและมีความสอดคล้องกับศาสตร์สมัยใหม่อย่างเช่น วิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้มากเพียงใด จึงจัดว่าเป็นโจทย์ที่น่าสนใจหาคำตอบเป็นที่สุดผู้เขียนจึงมีความสนใจในการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ในการศึกษาถึงศาสตร์ต่างๆ ที่จะเป็นไปในทิศทางที่ดีต่อการศึกษาถึงประเด็นต่างๆ

Article Details

บท
บทความวิจารณ์หนังสือ

References

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ศ.ดร., วิทยาศาสตร์ในทัศนะพระพุทธศาสนาในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่, กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๕๗.

พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม.พุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่.วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑: มกราคม –มิถุนายน, ๒๕๖๑.