การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคำสอนเรื่องกุศลจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ และ 3) วิเคราะห์การพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้รวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า กุศลจิต หมายถึง ธรรมชาติที่ทำบาปธรรมให้หวั่นไหว หรือ สภาพธรรมที่ทำลายบาปธรรมอันบัณฑิตพึงรังเกียจให้หมดไป กุศลเป็นสภาพที่ปรากฏขึ้นในจิตใจก่อน โดยการชำระบาปธรรมในจิตใจให้หมดไปเป็นเบื้องต้น เพื่อจะเป็นฐานรองรับความสะอาดที่เป็นสภาพของบุญเข้าไปแทนที่ในจิตใจ หรือ กุศลเป็นสภาพที่ทำการงดเว้นจากอกุศลบาปธรรมทั้งปวง เช่น กุศลกรรมบถ 10 หนทางที่ให้เกิดกุศลกรรม ได้แก่ งดเว้นจากกายทุจริต 3 วจีทุจริต 4 และมโนทุจริต 3 เมื่องดเว้นได้เรียกว่า กุศล กุศลจิตจัดเข้าในพระพุทธพจน์บทว่า “สพฺพปาปสฺส อกรณํ” แปลว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง ส่วนบุญจัดเข้าในพระพุทธพจน์บทว่า “กุสลสฺสูปสมฺปทา” แปลว่า การทำความดีให้เต็มที่ แต่ทั้ง 2 อย่างนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อันเดียวกัน ตามพระพุทธพจน์บทที่ว่า “สจิตฺตปริโยทปนํ” แปลว่า การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
การพัฒนากุศลจิตในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะมี 3 ระดับ คือ (1) การพัฒนากุศลจิตระดับเบื้องต้น ได้แก่ มหากุศลจิต 8 ด้วยวิธี ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา (2) การพัฒนากุศลจิตระดับกลาง รูปาวจรกุศล 5 และ อรูปาวจรกุศล4 ด้วยวิธี การเจริญสมถกรรมฐานสภาพจิตที่เข้าถึงรูปฌาน อรูปฌาน (3) การพัฒนากุศลจิตระดับสูง ได้แก่ โลกุตตรกุศล เจริญสติปัฏฐาน 4 ยกจิตเข้าสู่วิปัสสนาพิจารณาไตรลักษณ์ สามารถปหานอนุสัยกิเลส โดยสมุจเฉทปหาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพมหานคร : บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด, ๒๕๕๗. หน้า ๑๑.