วิเคราะห์การพัฒนาศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

พระมหาศรายุทธ สราวุโธ เชษฐ์รัมย์
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศรัทธาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 
2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา วิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร โดยรวบรวมจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และรายงานอธิบายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า ศรัทธาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง ความเชื่อที่มีปัญญาประกอบ มีหลักการพัฒนาประกอบด้วยความเพียร มีสติสัมปชัญญะเพียรระลึกรู้อยู่กับปัจจุบันอารมณ์ของรูปนามอยู่เสมอ ๆ ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ความสำคัญของศรัทธาในฐานะต่างๆ โดยเป็นธรรมเกิดก่อนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนกุศลธรรมข้ออื่น ๆ ให้ขับเคลื่อนไปในแนวทางที่พึงประสงค์คือเกิดปัญญา สภาวธรรมที่เกิดร่วมศรัทธา หรือองค์ธรรมประกอบของศรัทธา คือ อินทรีย์ 5 พละ 5 เสขพละ 5 สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 เวสารัชชกรณธรรม 5 วัฑฒิ หรือ อารยวัฒิ 5 สัปปุริสธรรม 8 อริยทรัพย์ 7 และองค์ของผู้กระทำความเพียร ซึ่งเมื่อสังเกตจะเห็นว่าแต่ละองค์ธรรมทั้งหมดจะมีศรัทธาเป็นองค์นำเป็นเบื้องต้น และมีปัญญาเป็นเบื้องปลาย คือมีศรัทธาเป็นองค์ธรรมเบื้องต้นอันนำไปสู่การพัฒนาสู่ปัญญา วิเคราะห์ศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาถือว่าเป็นการนำองค์ธรรม คือศรัทธามาใช้เพื่อเป้าหมายสุงสุดในทางพระพุทธศาสนา คือการนำมาใช้เป็นบาทฐานแห่งการเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือพระนิพพาน อันเป็นแก่นสูงสุด ซึ่งศรัทธาจึงถือว่าเป็นองค์ธรรมอย่างหนึ่งในการวิปัสสนาภาวนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2552). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 17, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พระราชเวที (สมพงษ์ พฺรหฺมวโส), (2536). สัททาวิสสวิคคหะ, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประดิพัทธ์.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), (2548). วิปัสสนานัย เล่ม 1, แปลและเรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์, นครปฐม: บริษัทธนาเพรส จำกัด.

พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ), จำลอง สารพัดนึก, รศ., (2530). พจนานุกรมบาลี-ไทย ฉบับศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดหลวงพอสดธรรมกายาราม, (2553). คู่มือปฏิบัติ สมถวิปสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย, นครปฐม: บริษัทเพชรเกษม พริ้นติ้ง กรู๊ป จำกัด.