วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดศิลามูล จ.นครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาพการสอนวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย และสำนักปฏิบัติธรรมวัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สติปัฏฐาน การปฏิบัติที่มีสติเป็นประธาน หลักการปฏิบัตินั้นแบ่งเป็น 4 ฐาน 1) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ 2) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา 3) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ 4) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ โดยเริ่มตั้งความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของคณาจารย์ทั้ง 5 สายนั้น มีอุบายวิธีการปฏิบัติในชั้นสมถะที่ต่างกัน โดยเลือกถือธรรมเป็นอารมณ์ของกัมมัฏฐานตามอัธยาศัยของตนเป็นแนวทางภาวนา การกำหนดคำภาวนา มีความแตกต่างกันเล็กน้อยชั้นสมถะ ส่วนในชั้นวิปัสสนายึดหลักสติปัฏฐาน 4 การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของวัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม ไม่ได้เน้นการภาวนา เน้นการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 แนวทางการปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรม วัดศิลามูล จังหวัดนครปฐม เน้นการสอนวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพื่อต่อยอดให้แก่ผู้ปฏิบัติได้ โดยยึดหลักสติให้ตั้งอยู่ในฐานกาย เวทนา จิต และธรรม ว่าล้วนเป็นไปในกฎสามัญลักษณะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
โกเอ็นก้า, มหาสติปัฏฐานสูตร (ธรรมบรรยายฉบับย่อ) ทางสู่ความหลุดพ้น, 2554.
พระอธิการสมศักดิ์ โสรโท, คู่มือการพัฒนาจิตตามแนวสติปัฏฐาน 4 สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่, 2556.
พระมหาสุเรส สุเรโส (แจ่มแจ้ง), “การศึกษาวิเคราะห์วิธีการกาหนดรูปนามในอิริยาปถปัพพะในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา”, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ 40, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมมะ, 2557.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, 2539.
มูลนิธิพระสงบ มนสฺสนฺโต, ประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ โดยท่านพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน, กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, 2558.
วริยา ชินวรรโณ และคณะ, สมาธิในพระไตรปิฎกวิวัฒนาการการตีความคำสอนเรื่องสมาธิในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทในประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2543.