การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

พระครูวินัยธร ชัยวัตร อาภาธโร พวงลำเจียก
พระมหาวิโรจน์ คุตฺตวีโร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7
ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และ 3) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนามและสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า สัปปายะ 7 คือ สภาพที่เอื้ออำนวย สภาวะที่เกื้อหนุน เกื้อกูล ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ มีอยู่ 7 อย่าง ได้แก่ (1) ที่อยู่อาศัย (2) แหล่งอาหาร (3) เรื่องการพูดคุย (4) บุคคล (5) อาหาร (6) สภาพดินฟ้าอากาศ (7) อิริยาบถ เป็นที่สบาย มีความเหมาะสมต่อการบำเพ็ญเพียรภาวนา ทั้งการเจริญสมถะและวิปัสสนาภาวนา สำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร มีการพัฒนาทั้งเสนาสนะ และบริเวณสำนักปฏิบัติธรรมร่มรื่นด้วยต้นไม้และสวนป่า สะอาดเหมาะสมต่อการเข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ตามหลักคำสอนและแนวทางการปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 7 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดเทพบุตร ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีการแก้ปัญหาและอุปสรรคตามหลักสัปปายะ 7 และทบทวนงานการพัฒนาที่ผ่านมาภายใต้วงจร PDCA เพื่อวางแผนการดำเนินงานและส่งเสริมการจัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสัปปายะ 7 ที่มีประสิทธิภาพและก้าวหน้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเชียร ชาญณรงค์. (2547). “บทบาทพระสงฆ์ในการนาหลักธรรมมาใช้ทากิจกรรมงานพัฒนาชุมชน เพื่อ ลด ละ เลิก อบายมุข: ศึกษาเฉพาะกรณีพระครูศีลาวราภรณ์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาบุญมี อธิปุญฺโญ. (2544). “บทบาทของพระสังฆาธิการพัฒนาสังคม: ศึกษากรณีพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสุภา อุทฺโท. (2541). “บทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคมไทยใน 2 ทศวรรษหน้า”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาอนันต์ ดอนนอก. (2540). “บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามโครงการอบรมประชาชนประจาตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2541). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยระเบียบและคำสั่งมหาเถรสมาคมที่เกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา,

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ข้อมูลวัดและพระสงฆ์ 2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.onab.go.th/ [31 สิงหาคม 2565].

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากร 2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.nso. go.th/ [31 สิงหาคม 2565].