ศึกษาวิเคราะห์วิปัสสนาภูมิ 6 เพื่อการปฏิบัติวิปัสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภูมิ 6 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิปัสสนาภูมิ 6 เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพเป็นการศึกษาเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือ พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค เป็นต้น ปรับปรุง แก้ไข สรุปผลการวิจัยวิเคราะห์เนื้อหาในลักษณะพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า วิปัสสนาภูมิ หมายถึง ภูมิแห่งปัญญา ถือเป็นอารมณ์สำหรับการเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ ผู้เจริญวิปัสสนาต้องกำหนดรู้วิปัสสนาภูมิ 6 ที่กำลังปรากฏชัดในปัจจุบันขณะ ได้แก่ 1) ขันธ์ 5 2) อายตนะ 12 3) ธาตุ 18 4) อินทรีย์ 22 5) ปฏิจจสมุปบาท 12 และ 6) อริยสัจ 4 ทั้งหมดสรุปย่อลงเป็น รูปนาม วิปัสสนาภูมิเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ ซึ่งนำไปสู่ความดับทุกข์ด้วยมรรคอริยมรรค 8 ซึ่งเป็นทางสายกลาง การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยผู้ปฏิบัติต้องสังเกตอารมณ์ตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงรูปนาม ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดรู้สภาวะของ รูกาย เวทนา จิต และธรรม ในฐานะรูปธรรมและนามธรรมตามอาการต่าง ๆ คือ การพองและยุบของท้อง โดยการปฏิบัติเช่นนี้จะสามารถแยกให้รู้เห็นรูปนามตามวิปัสสนาภูมิ 6 เพื่อให้เกิดการเห็นแจ้งไตรลักษณ์และการปล่อยวางอารมณ์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2556.
ฉันทนา อุตสาหลักษณ์, พุทธปัญญาคู่มือสร้างปัญญา. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์, 2552.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถโชติกะ ปริเฉทที่ 9 เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, 2554.