แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) พื่อศึกษาการปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนาม นำเสนอผลวิจัยในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐานสายพุทโธ ใช้วิธีการภาวนาในระดับสมถะและพิจารณาธาตุขันธ์ในระดับวิปัสสนา เน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณ กำหนดบริกรรม พุทโธ ใช้วิธีการปฏิบัติ คือ กายคตาสติ อสุภกรรมฐาน เช่น พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ผู้สูงอายุที่เริ่มฝึกต้องมีสติอยู่กับการเห็นเพราะเป็นการฝึกที่ง่ายที่สุดและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติกรรมฐานของผู้สูงอายุตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ด้าน อาวาสสัปปายะ ได้แก่ ทางลาดชันเนื่องจากเป็นป่าเขา ไม่สะดวกต่อผู้สูงอายุ สถานที่นอน ห้องน้ำ ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ที่มาปฏิบัติ ด้าน อาหารสัปปายะ ได้แก่ การบริโภคอาหารเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่ถูกจํากัดและมีแม่ครัวค่อนข้างน้อย ด้าน บุคคลสัปปายะ ได้แก่ พระวิปัสสนาจารย์มีจำนวนน้อย แนวทางปฏิบัติอาจแก้ไขปัญหาได้ไม่ทั้งหมด ด้าน ธรรมสัปปายะ ได้แก่ ขาดการพูดคุยสื่อสารในหลักธรรมที่เหมาะสมกับวิธีปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรม 3) แนวทางส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานที่เหมาะสมของผู้สูงอายุตามแนวของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาวาสสัปปายะ วัดทราบความต้องการของผู้สูงอายุ ส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ต้นแบบ พัฒนาพื้นที่ทางกายภาพให้เหมาะสม อาหารสัปปายะ วัดจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมเกื้อกูลต่อสุขภาพด้านโภชนาการ และส่งเสริมด้านกองทุนให้เป็นค่าอาหาร บุคคลสัปปายะ เพิ่มจำนวนพระวิปัสสนาจารย์ให้มีสัดส่วนเหมาะสม พัฒนาความสามารถให้เพิ่มขึ้น สร้างความน่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็น ธรรมสัปปายะ ส่งเสริมการนำหลักธรรมปรับให้เหมาะสมกับวิธีปฏิบัติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกองทุนผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. ๒๕๕๓, กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที คิว พี จำกัด, ๒๕๕๕.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, ๒๕๕๖.
ธารา ชยากโร เจริญรัตน์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานีตามแนวคิดตะวันออก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, ๒๕๕๙.
ผ่องพรรณ อรุณแสง. การพยาบาลปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ, ขอนแก่น: สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา, ๒๕๕๕.
พระปลัดธวัชชัย ขตฺติยเมธี (ขัติรัตน). สัมปชัญญะในการปฏิบัติเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๒.
พระมหานวปฎล กุสลญาโณ (ทรงประดิษฐ์) และพระมหาอดิเดช สติวโร (สุขวัฒนวดี), ดร. การส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานของพระสงฆ์ในอําเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสนเทศ. ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๑) : ๑๒๑.
พระมหาอภิวัฒน์ ธมฺมโชโต (รักษาเคน). ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติกัมมัฏฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามแนวทางพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
พระสันต์ทัศน์ คมฺภีรปญฺโญ และคณะ. สติปัฏฐานกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
ลำภู เปรมจิตร์. สัปปายะสำหรับผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารปรัชญาอาศรม. ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๒): บทนำ.