รูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธีรเชฎฐ์ สุรธีโร (โพนสุวรรณ)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 รูป/คน พระวิปัสสนาจารย์/วิปัสสนาจารย์ 8 รูป/คน ผู้ปฏิบัติธรรม 9 คน รวม 21 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของวัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร คือ การพัฒนาด้วยการให้ทาน รักษาศีล และการเจริญเมตตาภาวนา กรุณาภาวนา มุทิตาภาวนา และอุเบกขาภาวนา (Loving-kindness) หรือ เรียกว่า เมตตาอัปปมัญญา คือ การแผ่ไปตามลำดับบุคคล แบบไม่เจาะจงบุคคล 5 จำพวก แบบเจาะจงบุคคล 7 จำพวก และแผ่ไปยังทิศต่าง ๆ 10 ทิศ เรียกว่า การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ เมื่อสภาวะของฌาน 4 มีความสมบูรณ์ ก็จะสามารถพัฒนาขึ้นสู่อรูปฌาน 4 และเข้าถึงเมตตาฌานระดับ 9 คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วจึงยกเมตตาฌานขึ้นสู่วิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 (Mindfulness) คือ การพิจารณากำหนดรู้รูป-นามตามความเป็นจริง จนเกิดเป็นปัญญา (Wisdom) ได้แก่ ปัญญา 1 ปัจจัยที่เป็นเหตุให้สัตว์ดำรงอยู่ได้ ไปจนถึง ปัญญา 10 ผู้ประกอบด้วยองค์คุณ 10 คือ พระอรหันต์

Article Details

How to Cite
สุรธีโร (โพนสุวรรณ) ธ. (2025). รูปแบบการพัฒนาปัญญาของผู้ปฏิบัติธรรมตามหลักเมตตาภาวนาของ วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 11(1), 83–96. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/275741
บท
บทความวิจัย

References

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9, ราชบัณฑิต). ศีล 5 รักษาโลก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, 2564.

พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี ป.ธ. 8). คู่มือวิปัสสนาจารย์ แนวธัมมานุสารี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2564.

พระมหาบัญชา สุสมฺปนฺโน (ผาติวโรดม). “การศึกษาวิเคราะห์หลักเมตตาธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทกับพระคัมภีร์คริสตธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2554.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 9 เล่ม 1 สมถกรรมฐานทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, 2554.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). พรหมวิหาร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สมคิด ทองสิมา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2526.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 47, กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, 2559.