สังคมพหุวัฒนธรรมและหลักคำสอนทางศาสนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการ เรื่องสังคมพหุวัฒนธรรมและหลักคำสอนทางศาสนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มีเป้าหมายหลักเพื่อนำเสนอแนวคิดในการนำหลักธรรมทางศาสนามาประยุกต์ใช้ในการสร้างสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ เมื่อสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจ มีการยอมรับความแตกต่าง ทางวัฒนธรรมและศาสนา เกื้อกูลต่อกัน โดยยึดหลักสากลที่เป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ การส่งเสริมความเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกันระหว่างวัฒนธรรมและศาสนาต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสันติภาพ ความมั่นคง และสังคมแห่งสันติ นำมาซึ่งประโยชน์และความสุขร่วมกันระหว่างบุคคล สังคม และสภาพแวดล้อม แนวทางการส่งเสริมพหุวัฒนธรรมและความสมานฉันท์ทางศาสนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมให้คนในสังคม มีความรู้ความเข้าใจในความแตกต่าง เคารพในสิทธิ์ของแต่ละบุคคล มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม มีการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการเสริมสร้างภูมิปัญญาและองค์ความรู้ที่แตกต่าง ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. พระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2563 และอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.2563.หน้า 89.
กลุ่มกัลยาณมิตร. 2567. การศึกษาด้านศาสนา. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=12703. [14 ตุลาคม 2567]
ธัช จันทรธัมมทัตต์ และ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. การศึกษาวิเคราะห์เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขององค์การสหประชาชาติเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 8 ฉบับเพิ่มเติม. 2020: S185-S197.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรมฉบับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 54), กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.2563.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). ศาสนากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 2562.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ ๒๓. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๖๕.
เสรีศักดิ์ วิจิตรไตรผลิน และ แก้วสุพล สมหวัง. 2562. การพัฒนาที่ยั่งยืนในทัศนะทางพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธศิลปกรรม. 2(2). 2562: 60-78.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
Blum, L. A. Antiracism. Multiculturalism. and Interracial Community: Three Educational Values for a Multicultural Society. Applied Ethnic: A Multicultural Approach. (2nd edition). USA: Prentice Hall. 1998.
Hasa Husnee & Khareng Mutsalim. Study of the Attitudes and Behaviors of Coexistence in Multicultural Society inKhok Phayom Village, Khok khian Sub-District, Mueang District,Narathiwat Province. MENARA: Journal of Islamic and Contemporary Issues (M-JICI). 2023. 4(1): 48.
Joint Learning Initiative on Faith & Local Communities (JLI). The State of Evidence in Religions and Development. Washington, DC: JLI. 2022. [online] Source : https://jliflc.com/resources/the-state-of-the-evidence-in-religions-anddevelopment/. [June 8, 2024]
Message from Pope Francis World Day of Prayer for the Care of Creation 1 September 2019. [online] Source : https://mission.spaziospadoni.org/th/world-day-of-prayer-for-the-care-of-creation-pope-francis-appeal-for-the-earth/. [ August 10, 2024]
National Economic and Social Development Board, Office of the Prime Minister. 2022. National Economic and Social Development Plan No. 12 (2017-2021). [online] Source : https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422. [November 10, 2024]
Tomalin, Emma, Jörg Haustein, and Shabaana Kidy. Religion and the Sustainable Development Goals. The Review of Faith & International Affairs 17. 2019: 102.
United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization. Educating for a Sustainable Future: A Transdisciplinary Vision for Concerted Action. Paris: UNESCO.1997. p. 7.