แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรม วัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ฤาโชติ รชฎทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรม วัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 รูป/คน พระวิปัสสนาจารย์ 5 รูป ผู้ปฏิบัติธรรม 9 คน รวม 17 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรมวัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ คือ เริ่มต้นด้วยการเตรียมตัวก่อนมาปฏิบัติธรรม เพื่อให้การปฏิบัติธรรมได้ผลดียิ่งขึ้น โดยตั้งใจให้แน่วแน่ว่าจะตั้งใจปฏิบัติธรรม ทำใจให้ผ่องใส แล้วจึงทำการสมาทานศีล 5 ศีล 8 ของคฤหัสถ์ หรือ ศีล 227 ของภิกษุ งดเว้นสิ่งที่ทำให้ฟุ้งซ่าน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต หรืองดการละเล่นต่าง ๆ เป็นต้น จากนั้นให้เริ่มศึกษาวิธีการปฏิบัติในระหว่างการปฏิบัติธรรม เช่น สิ่งที่ควรปฏิบัติ สิ่งที่ควรงดเว้น แล้วจึงลงมือปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ มีความเพียรในการปฏิบัติ (Perseverance) มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในทุกขณะจิต (Clear comprehension) และมีสติพิจารณากำหนดในอารมณ์ต่าง ๆ ตามความเป็นจริง (Mindfulness) ในกาย เวทนา จิต ธรรม

Article Details

How to Cite
รชฎทรัพย์ ฤ. (2025). แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของสำนักปฏิบัติธรรม วัดโป่งพาน ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 11(1), 112–125. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277953
บท
บทความวิจัย

References

พระคันธสาราภิวงศ์ (สมลักษณ์ คนฺธสาโร). โพธิปักขิยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์, 2549.

พระครูวินัยธรศิริเชษฐ์ สิริวฑฺฒโน. “การพัฒนาจิตใจมนุษย์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา”. วารสารพุทธจิตวิทยา. ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564): 78.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.

พระสมโภชน์ โสภณสีโล (รสฟุ้ง). “กระบวนการส่งเสริมการบรรลุธรรมแบบสัทธานุสารี”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566.

พิมพ์วรา ทิพยบุลสิทธิ์. “กระบวนการส่งเสริมวิริยินทรีย์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สยาดอภัททันตวิโรจนะ (มหาคันถวาจกบัณฑิต-มหากัมมัฏฐานนาจริยะ). วิธีเจริญมหาสติปัฏฐาน เล่ม 2 ผลของการปฏิบัติ. แปลโดย เมฆวดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ดี เอ็ม จี, 2556.