รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

สมชาย ทุ่งมล
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาฌานในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาวิถีแห่งอริยมรรคตามหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และ3) เพื่อเสนอรูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา เป็นการวิจัยแบบเรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนาที่พบ คือ การเจริญฌานนั้น มีจุดมุ่งหมายในครั้งนี้ คือ เจริญจิตภาวนา เพื่อให้เกิดฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จนได้รับผลบรรลุถึงปัญญา ซึ่งเป็นผลมาจากการเจริญสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อพิจารณารูปนามให้รู้ตามความเป็นจริงซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตที่เป็นกุศล ฌานเป็นปัจจัยของการบรรลุธรรม แต่ยังไม่สามารถทำให้เห็นแจ้งอริยธรรมได้เลย และกิเลสหรืออาสวะของผู้บำเพ็ญเพียรยังไม่สิ้นไป และผู้มีฌานต้องเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไปจึงจะเห็นสภาวะความเป็นจริงแห่งอริยสัจ 4 จนถ่ายถอนอาสวะออกหมดสิ้นได้ การเพ่งของฌานแบบพระพุทธศาสนาถือการเพ่งสัญญาไม่ว่าทั้งที่เป็นรูปสัญญาและอรูปสัญญาทั้งนี้เพื่อให้จิตดิ่งเข้าสู่ความสงบนิ่งแนบแน่นหรือเข้าสู่อารมณ์สมมติ ก่อนแล้วจึงพิจารณาเพ่งเพื่อรู้แจ้งสภาวะด้วยสติและสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นการเจริญมรรคเป็นไปเพื่อรู้แจ้งในพระไตรลักษณ์ และส่งเสริมการพัฒนาฌานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา เป็นการเจริญสมถกรรมฐานจนจิตตั้งมั่นแน่วแน่ถึงอุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ การที่จะเข้าสู่วิปัสสนาได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการเจริญฌานเบื้องต้นก่อนจนได้ฌานที่สูงขึ้นแล้วนำมาเป็นบาทฐานจากนั้นค่อยถอยออกจากฌานแล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนา จิตนั้นจึงมุ่งสู่อริยมรรคกำหนดรู้เท่าทันอารมณ์เหล่านั้นเท่าทันตามความเป็นจริงตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดยพิจารณาเห็นความเป็นพระไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 หรือรูปนาม จนเกิดปัญญาญาณบรรลุถึงโลกุตตรธรรม ในที่สุดเข้าสู่พระนิพพาน

Article Details

How to Cite
ทุ่งมล ส., & คุ้มครอง ว. (2025). รูปแบบการเจริญฌานเพื่อเข้าสู่วิถีแห่งอริยมรรคตามหลักวิปัสสนาภาวนา. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 11(1), 97–111. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/277955
บท
บทความวิจัย

References

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.9). วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2 ว่าด้วย มหาสติปัฏฐาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2548.

พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี). การยกอารมณ์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ตามแนวอานาปานสติ ภาวนา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2562.

พระมหาบุญเลิศ อนฺทปญฺโญ. สุดยอดแห่งวิชา คือ วิปัสสนากัมมัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: เก้าแสนกราฟฟิคทาวน์, 2561.

พระสมุห์มานัส อาคปญฺโญ (วงศ์สาขา). “ศึกษาเมตตาเจโตวิมุตติอันเป็นบาทฐานในการบรรลุธรรม”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สารขาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.

สุภีร์ ทุมทอง. อริยมรรค 8. พิมพ์ทั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทฟรีมายด์ พับลิชชิ่ง จำกัด, 2560.