วิเคราะห์การบรรลุธรรมของพระกีสาโคตมีเถรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและประวัติการบำเพ็ญบารมีของพระกีสาโคตมีเถรี 2) วิเคราะห์การบรรลุธรรมของพระกีสาโคตมีเถรี โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือ คัมภีร์พระไตรปิฎก เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ แล้วนำมาเรียบเรียงนำเสนอแบบบรรยาย เชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัยพบว่า การบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนา หมายถึง การรู้แจ้งอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ได้แก่การบรรลุโลกุตรธรรม 9 ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ทำการละสังโยชน์ได้ตามกำลังของมรรคญาณ แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1) พระโสดาบันสามารถประหาณสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้, 2) พระสกทาคามีทำราคะและปฏิฆะให้เบาบางลงได้, 3) ผู้สำเร็จเป็นพระอนาคามีย่อมประหาณสังโยชน์ทั้ง 3 รวมทั้งกามราคะ ปฏิฆะได้, 4) พระอรหันต์ประหาณสังโยชน์ที่เหลือคือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัทจะ และอวิชชาได้โดยสิ้นเชิง พระกีสาโคตมีเถรีได้เริ่มสั่งสมบารมีและตั้งความปราถนาเป็นเอตทัคคะสาวิกาในด้านผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ และบำเพ็ญบารมีเรื่อยมาจนถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เมื่อมีชีวิตต้องประสบกับความทุกข์โศกเพราะการสูญเสียบุตรอันเป็นที่รักยิ่ง จนขาดสติและได้การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าบรรลุโลกุตรธรรมเบื้องต้นและขอบวชเป็นภิกษุณี และเจริญวิปัสสนาภาวนา ใช้เปลวประทีปเป็นอารมณ์จนจิตเกิดสมาธิน้อมจิตสู่วิปัสสนา คือ เมื่อตอนเปลวประทีปแปรปรวนจิตเกิดปัญญา เห็นความแปรปรวนไม่เที่ยงจึงยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา จิตเกิดปัญญาญาณ รู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ 4 ตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ การกำหนดรู้เท่าทันการเกิดดับที่ปรากฏทางกาย เวทนา จิต และธรรม หรือว่าโดยย่อก็คือการกำหนดรู้ในรูปนามขันธ์ 5 ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง ในที่สุดท่านก็สามารถบรรลุมรรคผลนิพพาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 41, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2558.
พระประสาน ชยภิรโต (อร่ามวาณิชย์), “กระบวนการบรรลุธรรมของพุทธสาวิกาในพุทธปรัชญาเถรวาท”,วิทยานิพนธ์ ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2563.
พระสมชาย กิตฺติสาโร (แก้วเกษม), “ศึกษาการบรรลุธรรมของพระมหากัจจายนเถระ”, สาระนิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ), รจนา, ปฏิจจสมุปบาท เหตุผลแห่งวัฏสงสาร, พระพรหมโมลี(สมศักดิ์ อุปสมมหาเถระ ป.ธ.9, M.A.,Ph.D.) ตรวจชำระ.พระคันธสาราภิวงศ์. แปลและเรียบเรียง กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ หจก.ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, 2553.