ปฏิสัมภิทามรรค : สงเคราะห์ลงในอริยสัจ 4 โดยหลักเทสนาหาระ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและเนื้อหาหลักธรรมในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค 2) เพื่อศึกษาหลักของเทสนาหาระ 6 อริยสัจ 4 และ 3)เพื่อสงเคราะห์หลักธรรมในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เข้าในอริยสัจ 4 โดยเทสนาหาระ 6 โดยรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นผลงานของพระสารีบุตร เป็นคัมภีร์ชั้นบาลี ในหมวดพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ถือกันว่า ปฏิสัมภิทามรรคเป็นคัมภีร์คู่มือกัมมัฏฐานเล่มแรก และเป็นต้นแบบของคัมภีร์ทางด้านนี้ในสมัยต่อมา เช่น คัมภีร์วิมุตติมรรค ของพระอุปติสสเถระ คัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆสเถระ หลักธรรมในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค มีลักษณะยกศัพท์ธรรมะขึ้นเป็นบทตั้ง แล้วอธิบายขยายความศัพท์นั้น มีอยู่ 30 กถา หรือ 30 ศัพท์ แบ่งเป็น 3 วรรคคือ มหาวรรคว่าด้วยธรรมหมวดใหญ่ มี 10 เรื่อง สมถะและวิปัสสนา มี 10 เรื่อง ปัญญามี 10 เรื่อง 2) อริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐสำคัญที่สุด ซึ่งพระพุทธเจ้าเจ้าทรงได้พระนาม สัมมาสัมพุทโธ เพราะตรัสรู้อริยสัจและสั่งสอนให้ผู้อื่นให้รู้อริยสัจ ดังพระสารีบุตรอธิบายคำ พุทฺโธ “ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ชื่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะทรงนำพาหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้” คำว่า สัจจะ หมายถึงอริยสัจ 4 ในคัมภีร์เนตติอัฏฐกถา ได้แสดงความหมายของพระดำรัสว่า “ความจริง พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่พ้นจากสัจจะ ไม่มี ในคำนั้น โดยเหตุที่พระพุทธดำรัสแม้เพียงคาถาหนึ่งที่พ้นไปจากอริยสัจ หามีไม่” 3)การสาธิตให้ชัดแจ้งว่าคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคคืออุปกรณ์เครื่องมือการศึกษากรรมฐาน ที่ถูกต้องตามแนวทางของพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีอัตลักษณ์พิเศษ คู่ควรเป็นฐานข้อมูลอ้างอิงในแนวทางการปฏิบัติสำหรับทุกสำนักกรรมฐาน เนื้อหาทุกกถา กว้างขวาง เกิ้อกูลต่อเนื่องกัน ละเอียดลุ่มลึก คัมภีร์นี้จึงเป็นเครื่องมืออนุรักษ์คำสอนกรรมฐานตามหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญยิ่งเล่มหนึ่ง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระคันธสาราภิวงศ์. แปลและอธิบาย. เนตติอรรถกถา. นครปฐม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีเอไอเซ็นเตอร์, 2551.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: อักษรสัมพันธ์, 2550.
________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556.
________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ, 2552.
พระพุทธโฆสาจารย์. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2556.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. (ประเสริฐ มนฺตเสวี). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาวิปัสสนาภาวนา. นครปฐม: ศูนย์บัณฑิตศึกษาวิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส. 2558.
พุทธทาสภิกขุ กองตำราคณะธรรมทาน. อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: ธรรมทานมูลนิธิ, 2527.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________. เนตฺฺติิ-เปฏโกปเทสปกรณํํ. กรุุงเทพมหานคร: โรงพิิมพ์์วิิญญาณ, 2540.
________. เนตฺฺติิอฏฺฺกถา. กรุุงเทพมหานคร: โรงพิิมพ์์วิิญญาณ, 2539.
________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2532.
________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
________. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปลชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541.
สุภีร์ ทุมทอง. อริยสัจ. กรุงเทพมหานคร: ขุมทองอุตสาหกรรมและการพิมพ์, 2553.
________. อัปปมาทธรรม. นนทบุรี: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด. 2564.