ผลการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาแนวคิดทฤษฎีการลดความวิตกกังวลตามแนวพุทธจิตวิทยาในการสอบของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแผนกิจกรรมการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการลดความวิตกกังวลในการสอบหลังใช้แผนกิจกรรมการเจริญพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมการเจริญพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบ และแบบวัดความวิตกกังวล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักทางพุทธจิตวิทยาที่ใช้ส่งเสริมการลดความวิตกกังวลในการสอบ ประกอบด้วย แนวคิดการสวดมนต์ หลักพละ 5 ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้เชิงสังคมพุทธิปัญญา แนวทางการพัฒนาปัจจัยลดความวิตกกังวล 4 ปัจจัย ได้แก่ แรงบันดาลใจและทัศนคติของผู้เรียน วิธีการสอน ความคาดหวังสูง และ การประเมินผลเชิงลบ 2) แผนกิจกรรมการเจริญพระพุทธมนต์เพื่อลดความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประกอบขั้นนำ ขั้นกิจกรรม ขั้นสรุป จำนวน 8 แผนกิจกรรม 3) ผลการใช้แผนกิจกรรม พบว่า หลังใช้แผนกิจกรรม นักเรียนมีความวิตกกังวลลดลงกว่าก่อนใช้แผนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และส่งผลร่วมกันต่อคะแนนการลดความวิตกกังวลในการสอบ คะแนนเฉลี่ยระดับการลดความวิตกกังวลในการสอบระหว่างการทดลอง และหลังการทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กฤษณา ศักดิ์ศรี, จิตวิทยาการศึกษา, (กรุงเทพ : นิยมวิทยา), 2530, หน้า 162-164.
กฤษดา รามัญศรี, สวดทุกวัน ดีทุกวัน, (กรุงเทพมหานคร : หจก.แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์), 2558, หน้า 58.
กฤษดา รามัญศรี, สวดทุกวัน ดีทุกวัน, (กรุงเทพมหานคร : หจก.แอลซีพี ฐิติพรการพิมพ์), 2558, หน้า 58.
คมกฤช มามะเริง, “ความสัมพันธ์ระหว่างสัมฤทธิผลทางการเรียนกับความวิตกกังวลทั่วไปและความวิตกกังวลในการสอบ”, ปริญญามหาบัณฑิต, (คณะจิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551), หน้า 3.
จันทิรา จิตต์วิบูลย์, การรับรู้สุขภาพและการดูแลตนเองตามทางเลือกของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว, วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2543.
เฉลิมลาภ ทองอาจ, “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการเขียนโดยใช้ทฤษฎีกระบวนการ เขียนเชิงปัญญาร่วมกับกลยุทธ์พุทธิปัญญาและอภิปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัย ของนักเรียนมัธยมศึกษา”, วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, (บัณฑิต วิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558), บทคัดย่อ.
แม่ชีกนกวรรณ ปรีดิ์เปรม, ผลของการสวดมนต์และการฟังบทสวดมนต์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนา, ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563.
แม่ชีกนกวรรณ ปรีดิ์เปรม, ผลของการสวดมนต์และการฟังบทสวดมนต์ที่มีต่อความวิตกกังวลในการสอบของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความศรัทธาในพุทธศาสนา, ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2563.
วิชญ ผาติหัตถกร, “ผลของดนตรีคลาสสิคต่อผลสัมฤทธิ์ในการสอบและความวิตกกังวลในการสอบของผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว – แสดงตัว”, ปริญญามหาบัณฑิต, (คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554), หน้า 3.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, นวโกวาท, (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย), 2540, หน้า 145.
Bandura, A., and R. Walters, Social Learning and Personality Development, (New York : Holt), 1963, p 236.
Bandura, Albert, Socaial foundations of thought and action: A social cognitive theory, Englewood Cllffs, New Jersey: Prentice-Hall, 1986, p 98.
Donn Byrne, An Introduction to Personality : A Research Appoach, (Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hali Inc., 1966), pp. 343 – 346.
Krohne, Heinz W. and Laux., Lothar Achievement Stress and Anxiety, (New York: Hemisphere Publishing), 1982.
Lazarus, R. S., & folkman, S., Stress Appraisal and Coping, (New York: Springer Publishing Company), 1984.