เส้นทางการเกิดตัวแทนของผู้ใช้แรงงานในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส

Main Article Content

wanaporn phanphruk

บทคัดย่อ

การเข้าถึงสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่มักไม่เท่าเทียมกับคนกลุ่มอื่นในสังคมเสมอ ทำให้เกิดเป็นข้อสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของผู้ใช้แรงงานผู้เปลี่ยนโลก ทั้งๆ ที่พวกเขาเป็นกลุ่มที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ แต่กลับต้องถูกเอารัดเอาเปรียบถูกกดขี่ข่มเหงอยู่เสมอ ทำให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างโหยหาเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีการรวมกลุ่มกันต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค แม้จะต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อและชีวิตก็ตาม จนกระทั่งเกิดตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้แรงงานขึ้นที่มีบทบาททางรัฐสภา ในการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน บทความชิ้นนี้จะกล่าวถึงเฉพาะผู้ใช้แรงงานในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นหลัก จากการที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานในประเทศทั้ง 2 ได้รับสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคถือเป็นสารตั้งต้นของความเป็นประชาธิปไตย จนนำไปสู่เหตุปัจจัยที่เป็นตัวเกื้อหนุนส่งเสริมจนเกิดเป็นผลในพัฒนาการของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จนกลายเป็นพรรคการเมืองและสหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและช่วยปกป้องสิทธิประโยชน์ของกลุ่มเสมอมา และยังสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อการพัฒนากลุ่มผู้ใช้แรงงานไทยให้มีความเข้มแข็งดังเช่นประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสได้ในอนาคตอันใกล้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลลดา เกษบุญชู- มิ้ด. (2561). วิวัฒนาการรัฐอังกฤษ ฝรั่งเศส ในกระแสเศรษฐกิจโลกจากระบบฟิวดัลถึงการปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน.
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2558). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
จินตนา ดำรงเลิศ. (2555). ขบวนการกรรมกรและสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, ปีที่ 37 ฉบับที่4 (ต.ค.-ธ.ค. 2555).
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2536). ประวัติศาสตร์การปฏิวัติอุตสาหกรรมเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: บริษัท ธรรมสาร จำกัด
พฤทธิสาณ ชุมพล. (2544). ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์ชนก พุกสุข. (2562). 51 ปี “ปฏิวัติพฤษภา 1968” (May 1968). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://documentaryclubthailand.com/thedreamers-article7/.
สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์. (2540). ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สมชาย กษิติประดิษฐ์. (2542). สิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2548). การเมืองอังกฤษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เสมาธรรม.
สัญชัย สุวังบุตร. (2558). ยุโรป ค.ศ.1815-1918. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
อมรา พงศาพิชญ์ และปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2539). ระบบอุปถัมภ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
International Labour Organization. (2564). ILO คืออะไร ILO ทำอะไร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/ publication/wcms_098257.pdf
Lefranc, Georges. (1972). Essaissur les problemessocialistesetsyndicaux. Paris: Payot.