การใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของบรรณารักษ์ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

arunlak Rattanapun
Boonyakrit Rattanapun
Rungrujee Sridadech

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของบรรณารักษ์สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดกำแพงเพชร ประชากรได้แก่ บรรณารักษ์สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน  50 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ได้แก่ Dixit, Timeline Inventions, Timeline Globetrotter, Halli Galli, Braintopia, Setter of Catan, Take 6 2) แบบสอบถามประเมินความรู้  3) แบบสอบถามความพึงพอใจ 4) แบบติดตามการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า  1) ระดับความรู้ของบรรณารักษ์ก่อนการใช้บอร์ดเกมโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{x}  = 1.71) หลังการใช้บอร์ดเกมระดับความรู้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.59) 2) ผลการศึกษาความพึงพอใจโดยภาพรวมพบว่า พึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.35) 3) ผลการพัฒนาบอร์ดเกม พบว่า บรรณารักษ์ที่ผ่านการอบรมสามารถออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ทั้งหมด 4 เกม ได้แก่ เกมการ์ดจังหวัดหรรษา, เกมผลไม้กิน, สมการรักและเกมนายกรัฐมนตรีของไทย 4) ผลการติดตามและประเมินผล พบว่า มีการนำบอร์ดเกมที่พัฒนามาใช้ในออกแบบสื่อการเรียนรู้และงานการศึกษาตามอัธยาศัย (กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน) ให้กับนักศึกษา และผู้รับบริการในชุมชน พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.59)  เกมที่นิยมเล่น ได้แก่  เกมการ์ดจังหวัดหรรษา  เกมนายกรัฐมนตรีของไทย เกมสมการรัก และเกมผลไม้กินได้  ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบเกมกระดานเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนิสิตระดับปริญญาตรี.

วารสารปัญญาปณิธาน, 5 (2), 137-150.

เดชรัต สุขกำเนิด. (2561). เกมคือการทลายกรอบไปสู่ความคิดใหม่. เข้าถึงเมื่อสิงหาคม 16, 2564, จาก https://thaipublica.org/2017/02/

decharut-board-game/.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง,และณฐนันท์ กาญจนคูหา. (2552). การเรียนรู้ผ่านเกม (Game-Based Learning หรือ GBL). เข้าถึงเมื่อธันวาคม 9, 2564, จาก

http://www.vcharkarn.com/vblog/115588.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง และอุไรวรรณ หาญวงค์. (2553). การบูรณาการเทคโนโลยี e-learning ประเภทเกมในชั้นเรียน. เข้าถึงเมื่อสิงหาคม 16, 2564, จาก

http://thanompo. edu.cmu.ac.th/load/journal/50-51/Integrating%20GameBased.pdf.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2564). การศึกษาผลของการใช้บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23( 4), 187-200.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์ การสอน: องค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). เกมกระดาน เสริมสร้างทักษะและความสัมพันธ์ในครอบครัว. เข้าถึงเมื่อกุมภาพันธ์ 3, 2565, จาก

https://www.trueplookpanya.com/blog/content/81863/-blog-teaartedu-teaart-.

_______. (2563). Games Based Learning หรือ GBL คืออะไร. เข้าถึงเมื่อสิงหาคม 4, 2564, จาก: https://www.trueplookpanya.com/blog/content/

/-blog-teamet-.

บอร์ดเกมเครื่องมือพัฒนาคน-เปิดมุมมองด้านจิต. (2560). เข้าถึงเมื่อสิงหาคม 23, 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/775074.

ประหยัด จิระวรพงศ์. (2560). การเรียนรู้ ผ่านเกม Game-Based Learning หรือ GBL. เข้าถึงเมื่อกุมภาพันธ์ 10, 2565, จาก

https://antawe.wordpress.com/2013/12/30/game-baesd-learning/.

รักชน พุทธรังษี. (2560). การประยุกต์ใช้บอร์ดเกมเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และกันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560, กรฎาคม-ธันวาคม). พฤติกรรมการเล่นเกมกระดานและองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบจากการ

เล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40(2), 107-132.

วิวัฒน์ไชย วรบวร. (2555). เกมเบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Shaw, R. & Lewis, V. (2005). The impact of computer-mediated and traditional academic task presentation on the performance and

behaviour of children with ADHD. journal of research special educational needs, 5, 47-54.