หลักธรรมาภิบาลบนฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดตาก

Main Article Content

ช่อพฤกษ์ ผิวกู่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดตาก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระบบสังคมและหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการบนฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดตาก และ 3) เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลบนฐานอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง จังหวัดตาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยจากเอกสารและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งนั้นผู้นำได้มีการนำเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์มาร้อยเรียงเพื่อรักษาอัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในกลุ่ม     2) อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับระบบสังคมและหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ คือการรักษาแบบแผน การบูรณาการ การบรรลุเป้าหมาย การปรับตัวได้อย่างเป็นระบบ และ 3) อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมาภิบาลในลักษณะโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและสมาชิกมีการปรับตัวให้เข้ากับวิถีวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ที่เน้นหลักการมีส่วนร่วมและหลักสำนึกรับผิดชอบให้เกิดการยอมรับ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ช่อพฤกษ์ ผิวกู่, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อาจารย์โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จารุโส สุดคีรี. (2558). รูปแบบการพัฒนาองค์กรชุมชนแบบยั่งยืน. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8 (2)

จุฑาพรรธ์ (จามจุรี) ผดุงชีววิต. (2551). วัฒนธรรมการสื่อสารและอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2547). การพัฒนาต้องเอาวัฒนธรรมเป็นตัวตั้ง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

พิเชษฐ์ วงค์เกียรติ์ขจร. (2552). แนวคิดยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ในยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.

พิษณุ บุญนิยม. (2559). คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักรัฐประศาสนศาสตร์. กำแพงเพชร : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ยุกติ มุกดาวิจิตร. (2548). อ่าน “วัฒนธรรมชุมชน” วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์ นิพนธ์แนววัฒนธรรมชุมชน. กรุงเทพฯ : ฟ้าเดียวกัน.

รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์. (2550). การประยุกต์ใช้มิติทางวัฒนธรรมกับยุทธศาสตร์ทหารเพื่อการพัฒนา.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฏีคติชนวิทยา : วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ ตำนาน-นิทาน พื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2550). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมแนวการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผน. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

สุขเกษม ขุนทอง. (2557). รูปแบบการพัฒนาชุมชนบนฐานนิเวศวัฒนธรรมชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฏีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2563-2565. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://www.mhesi.go.th/index.php/aboutus/stg-policy/930-2563-2570.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2563). ทฤษฎีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม การทะลุกรอบและกับดักของความคิดแบบคู่ตรงกันข้าม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สยามปริทัศน์.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2561). การจัดการชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร สุคันธวณิช, พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. (บรรณาธิการ). (2559). มนุษย์กับวัฒนธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 13).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.