ชุมชนกับการจัดการภัยพิบัติ: กรณีศึกษาอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการจัดการภัยพิบัติของชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการภัยพิบัติของชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในชุมชนบ้านวังกุ่ม ชุมชนบ้านแท่นนางงาม และชุมชนบ้านชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 522 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) อยู่ระหว่าง .82 ถึง .96 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ วิธีแบบขั้นตอน (Stepwise regression analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์นี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1) ภาพรวมของประสิทธิผลในการจัดการภัยพิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือกับอุทกภัยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 ด้านการจัดการในภาวะฉุกเฉินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 และด้านการฟื้นฟูบูรณะหลังประสบภัยอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.82 ตามลำดับ และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการภัยพิบัติของชุมชน มี 5 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านประสบการณ์รับมือภัยพิบัติในอดีต ปัจจัยด้านความตระหนักต่อปัญหาภัยพิบัติ ปัจจัยด้านทุนทางสังคม ปัจจัยด้านความต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐ และปัจจัยด้านผู้นำชุมชน โดยปัจจัยทั้งห้าส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการภัยพิบัติของชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเท่ากับ .295, .247, .220, .109 และ -.098 ตามลำดับ และสามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลในการจัดการภัยพิบัติของชุมชน ได้ร้อยละ 46.70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ. (2558). แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

ชญาทัต เนียมแสวง และจำลอง โพธิ์บุญ. (2563). การจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาความเสี่ยงอุทกภัยฉับพลัน จากการพิบัติของเขื่อนแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 16(2), 94-109.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร. (2555). การดำเนินการด้านรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง. กรุงเทพฯ: แอสดีคอน

เอกราช บุญเริง และไพโรจน์ ภัทรนรากุล. (2560). การเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนในการจัดการอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(3), 100-118.

Drabek, T. E., & Hoetmer, G. J. (1991). Emergency management: Principles and practice for local government. Washington,DC: International City Management Association.

Erramilli, B. P. (2009). Disaster management in India: Analysis of factors impacting capacity building. Unpublished doctoral dissertation, Georgia State University, Atlanta, GA.

Fischer, Henry W. (2003, August). The sociology of disaster: Definition, research question, & measurements in a post- September 11, 2001. Paper submitted for presentation at the annual meetings of the American Sociological Association.

Martin, Ervin P. (1999). Improving the implementation of Disaster management policy through public-private partnerships. Doctoral dissertation, The Fielding Institute.

McEntire, David A. (2007). Disaster response and recovery: Strategies and tactics for resilience. University of North Texas: R. R. Donnelley.

Pinkowski, J. (2008). Disaster management handbook. Boca Raton, FL: CRC Press.

Wisner, B., Blaikie, P., Cannon, T., and Davis, I. (2003). At risk natural hazards, people’s vulnerability and disasters (2nd ed.).London: Routledge.