การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตำบลท่าขุนราม จังหวัดกำแพงเพชร สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของประชาชนในตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวจากศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในตำบล
ท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า (1) แหล่งท่องเที่ยวในตำบลท่าขุนรามที่มีศักยภาพอยู่ในระดับสูง มี 1 แห่ง คือ วัดบ้านใหม่สุวรรณภูมิ มี 4 แห่ง ที่มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ หมู่บ้านวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโค้กหม้อ วัดอุทุมพร โรงนา ฟู้ด สคูล และตลาด 3 วิถี และมี 3แห่ง ที่มีศักยภาพอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ บ้านอนุรักษ์ควายไทย วัดตะเคียนทอง และศาลเจ้าพ่อพวงมาลัย (2) ศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของประชาชนในตำบลท่าขุนราม พบว่า ด้านการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวและด้านการนำเที่ยว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวจากศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ได้เส้นทางและรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 3 เส้นทาง ดังนี้ เส้นทางที่ 1 เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม 3 วิถีตำบลท่าขุนราม เส้นทางที่ 2 ลิ้มรสอาหารอร่อย 3 วิถีที่ท่าขุนราม และเส้นทางที่ 3 เรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ตามหาของอร่อยบ้านท่าขุนราม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กลุธิดา สะมาพุทธิ. (2540). การท่องเที่ยวทางวฒันธรรม : ทางเลือกใหม่ของการเดนิทาง. กรุงเทพ: ม.ป.พ.
ธนะรัตน์ ทับทิมไทย. (2562). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. ออนไลน์ สืบค้นวันที่ 2 สิงหาคม 2562. http://suphanburicampus.dusit.ac.th. [2562, สิงหาคม 2].
ธนากร ทองธรรมสิริและโอชัญญา บัวธรรม. (2564). ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนสามสิบห้องของชาวจีนโบราณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ออนไลน์ สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2564. https://thm.msu.ac.th/conference/file/26.pdf.[2564, กันยายน 15].
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมฤดี ทองลา. (2564). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวชุมชนหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. ออนไลน์ สืบค้นวันที่ 15กันยายน 2564. http://journal.nmc.zc.th. [2564, กันยายน 15].
พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วิวัฒน์ชัย บุญยศักดิ์. (2546). คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศิริเพ็ญ ดาบเพชร, ธนวัฒน์ ขวัญบุญ และอนงค์พร ไศลวรากุล. (2558,มกราคม-ธันวาคม). การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 จากพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(18), 226-246.
สมชาย หิรัญกิจ. (2549). การใช่วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพ: ม.ป.พ.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.
สุริยะ เจียมประชานรากร และคณะ. (2549). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.