การจัดการความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ของจังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

สำราญ ท้าวเงิน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชาวพื้นเมือง ชาวไทหล่ม ชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่าเย้า เผ่ามูเซอ ชาวจีน ชาวบน ชาวลาวพวน ลาวแง้ว ลาวครั่ง ตามกรอบแนวคิดการวิจัยว่าด้วยกระบวนการจัดการความรู้ทั้ง 7 ขั้นตอน ได้แก่ การค้นหาความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการจัดการความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้จัดทำชุดความรู้ความหลากหลายทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลด้านไวยากรณ์ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองอย่างมีประสิทธิผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวรรณ สุขปิติ. (2532). การศึกษาลักษณะของภาษาลาวพวน ที่ตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นงนุช ปุ้งเผ่าพันธุ์. (2527). ลักษณะของภาษาลาวแง้ว ที่ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนูญ อักษรนู. (2549). คำและวากยสัมพันธ์ในภาษาหล่ม ที่อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2535). ภูมิศาสตร์คำศัพท์ภาษาไทยถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. 2547. แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

เสาวภาคย์ วรลัคนากุล. (2532). ลักษณะคำซ้ำในภาษาจีนแต้จิ๋ว. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

โสภา จุฑาพัฒนา. (2535). การเทียบเคียงคำลักษณนามในภาษาญัฮกุร (ชาวบน) กับภาษาไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษา สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Khaysuban, A. (2007). Knowledge management, the genesis (การจัดการความรู้ฉบับปฐมบท). Bangkok: Phetkasem Printing Groups.

Krauss, Michael. 1992. The world’s languages in crisis. Language 68. 4-10.

Noknoi, J. et al. (2010). Various perspectives of knowledge management and the creation of a learning organization (นานาทรรศนะการจัดการความรู้ และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้). Bangkok: Chulalongkorn University.

Wasee, P. (2002). Knowledge management: human liberation process to potential, freedom and happiness (การจัดการความรู้ กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข). Bangkok: The Knowledge Management Institute (KMI).