คลิปวิดีโอกับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งบนสื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอมุมมองในการรณรงค์หาเสียงทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วยการผลิตคลิปวิดีโอในการหาเสียงเลือกตั้งบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร และสามารถร่วมแสดงความคิดหรือตัดสินใจว่าใครที่สามารถปกครองและพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง การหาเสียงผ่านคลิปวิดีโอของผู้สมัครรับเลือกตั้งจึงเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ออกมาในรูปแบบภาพเคลื่อนไหวที่มีแสดงลักษณะท่าทางอย่างเป็นธรรมชาติของผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ดีกว่าสื่อในรูปแบบอื่น ๆ และสื่อสังคมออนไลน์สามารถเป็นอีกช่องทางที่นิยมอย่างมาก เพื่อสร้างความนิยม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ประชาชนได้รับรู้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการใช้คลิปวิดีโอเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นที่รู้จักบนสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างเข้าใจและชัดเจนมากขึ้น
บทความนี้เป็นบทความทางวิชาการเพื่อวิเคราะห์หลักการผลิตคลิปวิดีโอ และวิธีการนำเสนอคลิปวิดีโอที่เข้าใจง่ายและมีประสิทธิภาพในการรับรู้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเข้าใจและชัดเจนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การผลิตคลิปวิดีโอสำหรับการรณรงค์หาเสียงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้มีคุณภาพที่สื่อออกไปนั้นต้องไม่ซับซ้อนสามารถเข้าใจได้ไม่ยากต่อกลุ่มเป้าหมายโดยตรง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กฤติยา รุจิโชค. (2564, เมษายน, 8). การสื่อสารทางการเมืองเพื่อรักษาภาพลักษณรัฐบาลในสื่อยุคดิจิทัล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 6(1), หน้า 25-34.
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
เกียรติคุณ เยาวรัตน์. (2561). กลยุทธ์การสร้างคลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแรงจูงใจในการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง กรณีศึกษา เฟซบุ๊กแฟนเพจ “Runner’s Journeys”. วิทยานิพนปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล. (2555). การเมืองบนเฟซบุ๊ก: วัฒนธรรม-การเมืองเครือข่าย สังคมออนไลน์ไทย พ.ศ. 2553-2555. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นันทพร อดิเรกโชติกุล. (2558, กันยายน, 5). การรับรู้และความต้องกา ข่าวสารประชาสัมพันธ์ :กรณีศึกษา อบต. มะเกลือใหม่ ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 13(3), 20-26.
วิทยาธร ท่อแก้ว. (2554). รายงานการวิจัย เรื่อง กลยุทธ์การสื่อสารการรณรงค์การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา. นนทบุรี: หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัย เกริก.
สิงห์ สิงห์ขจร. (2560, กรกฎาคม, 2). การสื่อสารในการสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺมหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(18), 197-210.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2559) .ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ระเบียงทอง.
อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ. (2563, กรกฎาคม). สื่อที่ใช้ในการรณรงค์ของภาครัฐเพื่อป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ของประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 77-86.
Williamson Andy. (2013). Social Media Guidelines for Parliaments. Retrieved January10, 2564, from http://www.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf
David K. Berlo. (1960) The Process of Communication. New York: Holt Rinehart and Winston.
Kevan Lee. (2016). The complete guide to facebook advertising. Retrieved April 10, 2564, from https://buffer.com/resources/wp- content/uploads/2016/08/Buffer-Complete-Facebook-Ads- Guide.compressed-1.pdf
Brian, S. (2020, Jan). Social Media and Election Campaign on Youtube: Analyzing User-generated Video in Kaohsiung Mayoral Election. Electronic Research Journal of Social Sciences and Humanities, 2(1), 2706 – 8242.
Haughey. C. (2021). 17 Engaging Video Content Types that People Love to Watch. Retrieved April 10, 2564, from https://www.singlegrain.com/video-marketing/10-useful-types-of-video-content-viewers-love/
Kat, R. L. (1955). Skill of effective administrator. Harvard Business Review, 12(1), 33-42.
Cheung, C. M., Chiu, P. Y., & Lee, M. K. (2011). Online social networks: Why do students use facebook. Computers in human behavior, 27(4), 1337-1343.
Katz James E. (2013). The social media president Barack Obama and the politics of digital engagement. United States: Palgrave Macmillan.