รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสาธิตฯ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสาธิตฯ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาปัญหาและแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสาธิตฯ 3. การทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสาธิตฯ และ 4. การประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสาธิตฯ แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และเขต 2 ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อการสัมภาษณ์และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เชี่ยวชาญในการประชุมสนทนากลุ่ม ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประธานเครือข่ายผู้ปกครองประจำห้องเรียน และตัวแทนกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนสาธิตฯ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมสนทนากลุ่ม และการประชุมรับฟังความคิดเห็นประกอบการประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสาธิตฯ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน คือ 1. ปัจจัยนำเข้า (Input) แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ทิศทาง และแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และ 2) ทรัพยากรในการบริหารจัดการ 2. กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การดำเนินงาน (Doing) การตรวจสอบ (Checking) และการปรับปรุง/พัฒนา (Acting) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของกระบวนการ ดังนี้ 1) Cooperation : C = การประสานความร่วมมือ 2) Opportunity of Learning : O = การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ 3) Visitation : V = การเยี่ยมเยือนเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ 4) Innovation : I = การพัฒนาและใช้
นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ 5) Development : D = การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และ 6) Safety Prevention : S = การกำหนดมาตรการป้องกันและสร้างความปลอดภัย 3. ผลผลิต (Output) ประกอบด้วย 1) ด้านคุณภาพ (Quality) และ 2) ด้านผลลัพธ์ (Outcome) ส่วนปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความถูกต้อง และความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้อยู่ระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา
ยุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมิน
ภายนอกรอบ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
มนธิชา ทองหัตถา. (2564, มกราคม - มิถุนายน). การศึกษาสภาพการจัดการ
เรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร
ลวะสี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. 5(1), 43-51.
รัตนา กาญจนพันธุ. (2563, กันยายน - ธันวาคม). การบริหารสถานศึกษาใน
สถานการณวิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎี
บัณฑิตทางสังคมศาสตร, 10(3), 545-556.
โรงเรียนสาธิต. (2564). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-
Assessment Report : SAR). เอกสารอัดสำเนา. สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1.
วันชัย มีชาติ. (2559). การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสิตา บุญสาธร. (2563). ทฤษฎีระบบ (System Theory). สืบค้นเมื่อ
ธันวาคม 2563, จาก http://wasita.wikidot.com/kasetsart09-
rtcsystems.
วีระ บัวผัน. (2563). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การสู่ความเป็นเลิศ
ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
กำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกำแพงเพชร.
ศิธาชัย ศรีอุดม. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา
สังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
นเรศวร.
ศิริลักษณ์ ทิพม่อม, (2559, กันยายน-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการบริหาร
เชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร ราชพฤกษ์, 14(3), 72-79.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับ
นักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์
โควิด–19. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
HR NOTE.asia. (2564). แนวคิดและทฤษฎีด้านการบริหารจัดการ
(Management Concept). Retrieved January 14, 2021, from:
https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/ 190419-
management-concept/ทฤษฎีการบริหาร.
Schwenger. B. (2021). Creating blended learning experiences
requires more than digital skills. Retrieved January 14,