การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวังไทร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาล วังไทร การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวังไทร ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวัไทร และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวังไทร เก็บข้อมูลการวิจัยกับผู้เกี่ยวข้อง 812 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์ผลการประเมินตนเอง (SAR) สังเคราะห์ผลการประชุมครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการและประชุมสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
- 1. ผลการศึกษาปัญหาการประกันคุณภาพ จากการวิเคราะห์ SAR และการประชุมครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบปัญหาด้านผู้เรียน คือ 1)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยต่ำ 2)ผลการอ่านออกของผู้เรียนเฉลี่ยต่ำ ปัญหาด้านครูได้แก่ 1)ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการสอนความรู้ให้กับเด็ก 2)ขาดความต่อเนื่องในการใช้กระบวนการ PLC ในการการพัฒนางาน 3)ครูไม่ได้สะท้อนผลการดำเนินงานหลังจากปฏิบัติงานเสร็จทำให้การทำงานในครั้งต่อไปไม่ได้ปรับปรุงแก้ไข ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ 1)การวางแผน การนำแผนสู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผลขาดความต่อเนื่อง 2)การจัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพและด้านสังคมที่เอื้อต่อการทำงานไม่ชัดเจน 3)ขาดการมีส่วนร่วมการทำงานเป็นทีม ผลการสังเคราะห์แนวทางในการแก้ปัญหา หรือการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังเคราะห์ได้ 9 ประเด็นคือ 1) การสร้างทีมที่ดี สภาพแวดล้อมดี 2) สร้างเป้าหมายการปฏิบัติงานร่วมกัน 3)สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อเฟื้อเป็นกัลยาณมิตร 4) สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน 5) ระดมความร่วมมือผู้ปกครอง ชุมชน เครือข่าย 6) จัดตั้งทีมศึกษาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเพื่อค้นหาปัญหาหรือสิ่งที่ต้องพัฒนา 7) ส่งเสริมให้ครูพัฒนาความรู้ตามความถนัดและความสนใจเพื่อพัฒนางานในหน้าที่ และพัฒนาด้านวิชาชีพ 8) ส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Active Learning 9) ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการ PLC เพื่อพัฒนางาน ในด้านองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในนั้นพบองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ แนวทางการพัฒนา ผลการดำเนินงาน และปัจจัยแห่งความสำเร็จซึ่งภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และรายองค์ประกอบ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากขึ้นไป
- การสร้างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวังไทรโดยมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.หลักการ ประกอบด้วย 1) เป็นหน้าที่ของบุลากรทุกคนที่จะต้องพัฒนางานในความรับผิดชอบให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น 2).เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 3).เกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่าย 4)สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน ยอมรับและนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา และ 5)พัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถเพื่อพัฒนาผู้เรียน 2.วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 1)เพื่อพัฒนาคุณภาพผูเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2)เพื่อพัฒนาวิชาชีพ สมรรถนะการทํางานและการจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษา 3)เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียน และ4)เพื่อพัฒนางานให้สามารถเป็นแบบอย่างได้ 3.แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1.ทีมรวมใจมีเป้าหมายร่วมกัน ขั้นตอนที่ 2 เลือกสรรเป้าหมายพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 แสวงหาวิธีการ ขั้นตอนที่ 4 ประสานความคิดและร่วมปฏิบัติ 4.ผลและการรายงานผลการดำเนินการ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 5 จัดกิจกรรมสะท้อนผลการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 6 พัฒนาสู่ความเป็นแบบอย่างได้ และ5.ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย 1)ปัจจัยด้านผู้บริหาร ได้แก่ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์มีความเป็นผู้นำ มีความรู้ ความสามารถ เข้าใจและให้การสนับสนุนกระบวนการ PLC 2)ปัจจัยด้านครู ได้แก่ ครูมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนา ให้ความร่วมมือเป็นทีมที่ดี และ3) ปัจจัยเกื้อหนุน ได้แก่ บรรยากาศหรือวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นกัลยาณมิตรขององค์กร การได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและเครือข่ายอื่น ซึ่งรูปแบบที่สร้างขึ้นมีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ทดลองใช้ที่โรงเรียนอนุบาลวังไทร
ปีการศึกษา 2564 เมื่อประเมินจากมาตรฐาน 3 ด้านคือด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการและด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่า ด้านแรกเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดส่วนด้านที่สองและสามมีผลการประเมินตนเองสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด เมื่อประเมินจากผลงานที่เป็นแบบอย่างได้ พบว่า ได้รางวัล จำนวน 15 รางวัล สามารถจำแนกได้ 3 ระดับคือ ระดับภูมิภาค ได้รับ 1 รางวัล ระดับจังหวัด ได้รับ 8 รางวัล และระดับเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับ 6 รางวัล เมื่อประเมินจาก ผลการสอบถามความพึงพอใจพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51) โดยทุกข้อมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในระดับมากขี้นไป
4.ผลประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนอนุบาลวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2 พบว่า รูปแบบมีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.18) โดยทุกข้อมีค่าเฉลี่ยระดับมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
จุรีรัตน์ ดวงเพ็ชร. (2561). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนปิยะพรพิทยา. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัญฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ภิญโญ จูสี. (2558). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชกิจจานุเบิกษา.(2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542.กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบการเรียนรู้ชุมชนทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฏีบัณฑิต),มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
สุบัน พรเวียง และมนต์นภัส มโนการณ์. (2563). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษานำร่องที่มีเป้าหมายเฉพาะสำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพินันท์ กันทะวงค์. (2558). แนวทางการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการวิเคราะห์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาให้รองรับการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). บทเรียนจากสถานศึกษาในการพัฒนาครูด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) สู่การพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาชองชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.