การวิเคราะห์ปัญหาการปรับตัวทางวัฒนธรรมของครูอาสาสมัครชาวจีนในประเทศไทย

Main Article Content

พชรพล ชื่นจิตร
อีหลาน อู่

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนภาษาจีนในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นในทุกปี ประเทศจีนจึงจัดส่งครูอาสาสมัครชาวจีนจำนวนมากมาสอนในประเทศไทย เนื่องจากจีนและไทยมีความแตกต่างกันในแง่ของสภาพประเทศ วัฒนธรรม และด้านอื่นๆ ครูอาสาสมัครชาวจีนจำนวนมากจึงประสบปัญหาการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้วิจัยจึงใช้วิธีการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและวิธีการทำแบบสอบถามอย่างครอบคลุม เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของครูอาสาสมัครชาวจีนในประเทศไทย
จากการศึกษาพบว่า ลักษณะของรูปแบบการสอนในประเทศไทย ปัจจัยทางด้านอุปนิสัยของนักเรียน ความเชื่อทางศาสนา การกำหนดค่านิยม อำนาจทางความคิด ความแตกต่างทางภาษา ภูมิอากาศของประเทศไทย อาหารเครื่องดื่ม การขนส่ง ความกดดันด้านการจัดการเรียนการสอน ความคิดและอารมณ์ ล้วนเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลทั้งสิ้น เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวของครูอาสาสมัครชาวจีนที่ทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทย วิจัยฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ปรับความคาดหวังทางด้านจิตวิทยาอย่างสมเหตุสมผล เคารพและปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย ปรับวิธีการสอนให้เข้ากับสภาพท้องถิ่น ฝ่ายจีนจัดอบรมให้ครูอาสาสมัครชาวจีนก่อนเดินทางมาไทยแบบครบวงจร ฝ่ายไทยให้ความช่วยเหลือครูอาสาสมัครชาวจีนอย่างเต็มความสามารถ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Berry, J. W. (1990). Psychology of Aculuration: Understanding Individuals Moving Between Cultures. Applied Coss-culural Psychology. Newbury Park, CA: Sage, 232-253.

Fumham, A.&, Bochner, S.(1986). Culture Shock: Psychological Relations to Unfamiliar Environment. London: Methuen.

Kalvero, O.(1960).Culture Shock:Adjustment to New Cultural Environment. Practical Anthropology,4,177-182.

Kluckhohn, C. K. M.(1951). Value and Value Orientation in the Theory of Action An Ex ploration in Definition and Classification, In T. Parsons& E. A. Shils ( Eds.), Toward a General Theory of Action, Cambridge, MA Harvard U niv ersily Press.

Robert, R.,Ralf, L.,Melville, H.(1936). Memorandum on the Study of Acculturation.American Anthropologist,38,149-152.

Ward,C.,Bochner,S.,Furnham,A.(2001).The Psycology of Culture Shock. London:Rutledge.

Ward,C.,&Kennedy,A.(1992).Locus of Control, Mood Diturbance and Social Dificulty during Cross-cultural Trunsitions. Intenational Journal of Intercultural Relations, 16(3),175-194.

甘海燕.(2018).赴泰汉语志愿者教学交往研究——基于哈贝马斯交往行为理论.广西大学硕士学位论文.

胡汝秋.(2012).基于中泰基础教育差异的在泰汉语教师志愿者教学问题研究.山东大学硕士学位论文.

胡文仲.(1999).跨文化交际学概论.北京:外语教学与研究出版社.

李湘妃.(2013).赴泰汉语教师志愿者跨文化适应调查报告.湖南师范大学硕士学位论文.

李晓雯.(2017).赴泰汉语教师志愿者跨文化交际案例分析.郑州大学硕士学位论文.

刘珣.(2000).对外汉语教育学引论.北京:北京语言大学出版社.

Nisarat,J.(2015).赴泰汉语志愿者跨文化交际研究——以宋卡王子大学普吉分校汉语教师志愿者为例.中央民族大学硕士学位论文.

田卉子.(2019).赴泰汉语教师志愿者跨文化适应案例分析.福建茶叶,4,104-105.

Wannapa,P.(2018).赴泰中国老师跨文化适应研究.华中师范大学硕士学位论文.

韦庆旺,俞国良.(2009).权力的社会认知研究述评.《心理科学进展》第6期.1336-1343.

徐闪闪.(2014).赴泰汉语志愿者教师跨文化适应问题及对策研究.云南师范大学硕士学位论文.

袁泉.(2016).中泰企业员工文化价值观差异及其对冲突管理方式影响的实证研究. 广西大学硕士学位论文.

元振军.(2015).泰国的法律与宗教.广西大学硕士学位论文.

张恒.(2017).对外汉语实习教师角色适应问题的个案研究——以广西大学2016年赴泰实习生为例.广西大学硕士学位论文.

朱怡璇.(2015).中泰学生非语言交际中集体主义和个体主义倾向的调查研究. 云南师范大学硕士学位论文.