สถานการณ์การตลาดดิจิทัลของธุรกิจโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์การดำเนินการด้านการตลาดดิจิทัลของธุรกิจโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และทำการเก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการตลาดของธุรกิจโรงแรมกลุ่มเครือข่ายนานาชาติ และผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการตลาดของธุรกิจโรงแรมกลุ่มเครือข่ายภายในประเทศ จำนวน 6 คน จากนั้น ทำการสังเกตการเข้าถึงข้อมูลของโรงแรมใน 3 ช่องทางการตลาดดิจิทัล ได้แก่ เว็บไซต์ เครื่องมือค้นหาทางการตลาด และการตลาดสังคมออนไลน์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การตลาดดิจิทัลในปัจจุบันมีความสำคัญกับธุรกิจโรงแรมมากและมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ซึ่งในการดำเนินการมีข้อจำกัดที่บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลของโรงแรมนั้นยังมีไม่มาก และปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้การตลาดดิจิทัล คือ การแสดงความคิดเห็นในเชิงลบต่อโรงแรม และสถานการณ์การตลาดดิจิทัลของธุรกิจโรงแรมในอนาคตจะมีการแข่งขันที่สูงขึ้น และจากการสังเกตพบว่า ในแต่ละช่องทางการตลาดดิจิทัลมีเป้าหมายในการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 อัพเดทรายวัน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard= main.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.mots.go.th/more_ news_new.php?cid=630.
_________________________. (2565). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2564. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.mots.go.th/more_ news_new.php?cid=632.
จิตรลดา พันธุ์พณาสกุล และวรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2562). การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย : การทบทวนวรรณกรรม. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 16(2). 19-39.
จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2561). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานทางการตลาดหลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจบริการในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 41(159), 1-32.
ณัฐวุฒิ ปัญญา. (2563). การสร้างสรรค์การตลาดดิจิทัลเชิงกลยุทธ์ : หลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 20-44.
ราชกิจจานุเบกษา. (2564). คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/143/T_0076.PDF.
Lam, C. & Law, R. (2019). Readiness of upscale and luxury-branded hotels for digital transformation. International Journal of Hospitality Management, 79, 60-69.
Pelsmacker, P. D., Tilburg, S. v., & Holthof, C. (2018). Digital marketing strategies, online reviews and hotel performance. International Journal of Hospitality Management, 72, 47-55.