การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อการบริหารงาน ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารภายในองค์กร 2) เพื่อเปรียบเทียบการสื่อสารภายในองค์กร 3) เพื่อศึกษาช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 85 คน เครื่องที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 โดยเก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์และนำเสนอแบบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารภายในองค์กรเพื่อการบริหารงานของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.92) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.96 รองลงมา ด้านการกำหนดภารกิจและเป้าหมายของการสื่อสาร ค่าเฉลี่ย ( = 3.90) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการมอบหมายตามบทบาทหน้าที่ ( = 3.89) ผลการเปรียบเทียบ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด และสถานภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อการบริหารงานของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับช่องทางการทราบข่าวสารของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุดคือ จาก Line HUSO (HUSO NEWS) ร้อยละ 67.06 ช่องทางที่เหมาะสมสำหรับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คือ Line HUSO (HUSO NEWS) ร้อยละ 65.88 และแนวทางพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารควรสื่อสารทิศทาง ภารกิจ และเป้าหมาย ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน 2) ผู้บริหารควรพิจารณาถึงศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานเป็นสำคัญก่อนมอบหมายงานให้บุคลากร และ 3) คณะฯ ควรมีกติกาในการใช้ช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่มีสาระสำคัญ ไม่มีควรนำเข้าข้อมูลส่วนบุคคลในช่องทางการสื่อสารของคณะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2563). ข้อมูลพื้นฐานพันธกิจของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. https://huso.kpru.ac.th/Data_Hoso1/kig.html สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564.
จรัสโฉม ศิริรัตน์. (2558). ปัญหาการติดต่อสื่อสารของบุคลากรในองค์กร กรณีศึกษา สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จิราวรรณ ยิ้มปลี้ม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสารในองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและป้องกันการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ส.). หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2544). ทฤษฎีองค์การ แนวการศึกษาเชิงบูรณาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
เรวัตร สมบัติทิพย์. (2543). การติดต่อสื่อสารในองค์กร : กรณีศึกษาบริษัทซีเกทเทคโนโลยี. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น.
วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2539). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. ภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์. คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์.
สมพร สุทัศนีย์. (2544). มนุษยสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี. (2555). พฤติกรรมการสื่อสารในองค์กร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2538). การบริหารทักษะและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
Gordon, Judith R. and associates. (1990). Management and Organizational Behavior. Needham Heights, MA: Allyn and Bacon.
Gibson, J.W., and R.M. Hodgetts. (1991). Organizational Communication – A Managerial Perspective. (2nd Edition). New York: Harper Collins Publishers.
Sharma, N., & Kamalanabhan, T. (2012). Internal corporate communication and its impact on internal branding: Perception of Indian public sector employees. Corporate Communications: An International Journal, 17 (3), 300-322.