การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมสำหรับครอบครัว ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองพัทยา

Main Article Content

สุภาภรณ์ หมั่นหา
กัณฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์ การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมสำหรับครอบครัว หลังสถานการณ์โควิด-19 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองพัทยา โดยทำการเก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากตัวแทนธุรกิจโรงแรมสำหรับครอบครัวในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองพัทยาที่เปิดให้บริการอยู่ ซึ่งใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 8 ราย และใช้วิธีการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมจากการการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจโรงแรมสำหรับครอบครัวในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมืองพัทยา มีวิธีในการปรับตัวคล้ายคลึงกัน ได้แก่ 1) ให้ลูกค้ากลุ่มครอบครัวมาใช้บริการภายในโรงแรมแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว โดยไม่ต้องออกไปนอกโรงแรม 2) ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้น่าสนใจตรงกับตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 3) ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติมเช่น ปรับปรุงห้องพัก สร้างสนามเด็กเล่น เพิ่มเติมเครื่องเล่นสำหรับสระว่ายน้ำ สร้างทางลาดเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับกลุ่มบุคคลพิเศษ 4) เพิ่มกิจกรรมเสริมให้ทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม 5) ใช้วิธีการส่งเสริมการขายให้ตรงกับกลุ่มครอบครัวมากขึ้น 6) ใช้กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายมาใช้บริการที่โรงแรมและทำการประชาสัมพันธ์ในช่องทางสื่อออนไลน์ จากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมพบว่า กลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัวที่มีเด็ก รองลงมาเป็นกลุ่มครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2564. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.mots.go.th/more_ news_ new.php?cid=630.

ธัญญ์รวี ธรศิริปุณโรจน์. (2562). กลยุทธ์การตลาดสู่ความสำเร็จของการประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์สปาผ่านช่องทางดิจิทัลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสมาคมนักวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(1), 72-84.

ปุณณ์ณฤณัฏฐ์ ดีจริงตระกูล. (2563). ปัจจัยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กรณีศึกษา: เมืองพัทยา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 11(1), 1-19.

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต, 29(2), 31-48.

พุทธชาด ลุนคำ และรชฏ เลียงจันทร์. (2564). ธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมหลัง COVID-19. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.krungsri.com/getmedia/ab21638a-4089-4bb4bb8a62ba89d2c7da/RI_Future_of_Tourism_210121_TH.pdf.aspx

รพีพัฒน์ มัณฑนะรัตน์. (2563). สถานการณ์การท่องเที่ยวในวิกฤต COVID-19. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.cea.or.th/th/single-research/cultural-heritage-tourism-industry-covid-19

สุเมธ กมลศิริวัฒน์ และบุษรา โพวาทอง. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHAต่อผลกระทบ COVID-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563. สาระศาสตร์, 4(3), 650-663.

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.