กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล Online Marketing Strategy Affecting Healthy Food Purchase Behavior of the Population in Bangkok Metropolitan Region

Main Article Content

Thitimas Juntrapirom
Laddawan Munkkunk
Niwarat Wijitkulsawat
Nattaya Jariamphan

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพโดยมีประสบการณ์สั่งซื้ออาหารทางออนไลน์ ที่ทำการศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยภาพรวมผู้ซื้อให้ความสำคัญในระดับมาก การนำกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจเพื่อจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  และองค์ประกอบกลยุทธ์การตลาดออนไลน์มีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ:  กลยุทธ์การตลาดออนไลน์,  อาหารเพื่อสุขภาพ, พฤติกรรมการซื้อ, พฤติกรรมผู้บริโภค


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จิราภา ยังลือ. (2562). กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของคน

วัยทำงานในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนัดดา ศิริพล (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อ

สุขภาพของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สาขา

การจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ณัฐวศา สุทธิธาดา. (2559). ONLINE MARKETING ใครๆ ก็ทำได้ชนะใจ

ลูกค้า เหนือกว่าคู่แข่ง.กรุงเทพมหานคร: วิตตี้กรุ๊ป.

ยงยุทธ เสาวพฤกษ์. (2560). แนวโน้ม‘อาหารและเครื่องดื่ม’เพื่อสุขภาพ.

สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2564,

จาก https://www.prachachat.net/columns/news-268743

ปริญ ลักษิตามาศ. (2561). กลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างคุณค่าการรับรู้อาหาร

ไทยประยุกต์สู่อาเซียน.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.

พุฒิพงศ์ เอี่ยมสินธร. (2561). เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัย

ธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย

รัตนบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

พุฒิพงศ์ เอี่ยมสินธร และฐิติมาศ จันทราภิรมย์ (2565) กลยุทธ์การตลาด

ออนไลน์ของธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหารเพื่อความสามารถใน

การแข่งขันในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ทุนวิจัยสาขาศิลปะการ

ประกอบอาหารและการจัดการภัตตาคาร คณะอุตสาหกรรมบริการ,

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา:

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส.์ บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). เทรนด์นวัตกรรมอาหาร

พลวัตผู้บริโภคที่ผู้ผลิตต้องจับตา. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม

, จาก https://www.cea.or.th/th/single-

statistic/futurefood-trend-2021

Hair,et al., (2010). Multvariate data analysis: A global

perspectivc.(7th edition). New Jersey, NJ: Pearson

education Inc.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.) New York:

McGraw-Hill.

W.G Cochran, (1953) The nature of and conditions for online trust.

Journal of Business Ethics, 43(1), 3–19.