แนวทางการจัดการต้นแบบธุรกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ : เทศบาลเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

วาสนา อาจสาลิกรณ์
มนตรี ใจแน่น
รัษฎากร วินิจกุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัย แนวทางการจัดการต้นแบบธุรกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ เทศบาลเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย    1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดธุรกิจชุมชนต้นแบบด้านการบริบาลผู้สูงอายุ 2) เพื่อหาแนวทางการจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบด้านการบริบาลผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลการวิจัยด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน นายกเทศมนตรี หน่วยงานราชการกำกับดูแลผู้สูงอายุ และภาคประชาสังคม เพื่อให้ได้ประเด็นปัจจัยสำคัญและแนวทางในการจัดการและพัฒนาร่วมกัน


                 สำหรับแนวทางการจัดการต้นแบบธุรกิจชุมชนด้านการบริบาลผู้สูงอายุ เทศบาลเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จเป็นประเด็นสำคัญ 5 ประเด็นดังนี้  1) การมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ความรู้ความเข้าใจของชุมชน 3) ความต้องการและเป้าหมายของสมาชิกชุมชน        4) ความต้องการเงินทุน 5) การให้การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคราชการ โดยมีแนวทางการจัดการต้นแบบธุรกิจชุมชนด้านการบริบาลร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9 แนวทาง ดังนี้ 1) การจัดการทางด้านกลุ่มลูกค้า 2) การจัดการทางด้านคุณค่าการบริการและสินค้า 3) การจัดการทางด้านการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า 4) การจัดการช่องทางการเข้าถึงลูกค้า  5) การจัดการรายได้ 6) การจัดการพันธมิตรและเครือข่าย 7) การจัดการกิจกรรมหลัก       8) การจัดการทรัพยากรหลัก และ 9) การจัดการโครงสร้างต้นทุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2560). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ด้านความมั่นคงในชีวิต.กิจกรรมผู้สูงอายุ: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2550). ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้. กรุงเทพฯ:เอ็กซเปอร์เน็ท

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2564). สถานการณ์การสูงวัยของประชากรไทย.(ออนไลน์). แหล่งข้อมูล. http://thaitgri.org./. 1 เมษายน 2564

ศิริกุล เลากัยกุล.(2551). การสร้างแบรนด์อย่างพอเพียง. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2559). การเตรียมตัวเกษียณอายุราชการของผู้บริหารสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์,11(2), 49-62.

ศูนยวิจัยกสิกรไทย. (2561). ตลาดผูสูงวัยขุมทอง SME ไทย. สืบค้นจาก https://ww.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/AgingMarket_SMETreasure_2018.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2564) การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). (2563). ขยายอายุการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ.พ.ศ. 2563

อเล็กซานเดอร์ ออสเทอร์วัลเดอร์ และ อีฟ พินเญอร์. (2557). คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ: สำหรับผู้มองการณ์ไกลผู้คิดจะทำการใหญ่และผู้หวังจะล้มยักษ์ แปลจาก Business Model Generation แปลโดย วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา. กรุงเทพฯ:วีเลิร์น.

Department of Mental Health. (2020). 93 days to society "old people" in 5 provinces, the oldest-the least old. [Online]. Available: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?

id=30453 [2021, October 1].