กลยุทธ์การตลาดออนไลน์เพื่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พุฒิพงศ์ เอี่ยมสินธร
ฐิติมาศ จันทราภิรมย์
สุดาพร ทิมฤกษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดออนไลน์และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหารและเพื่อกำหนดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ของธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหารเพื่อความสามารถในการแข่งขันในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 369 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล   ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ .858 นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) กลยุทธ์การตลาดออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) กลยุทธ์การตลาดออนไลน์เพื่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจชุมชนประเภทร้านอาหารในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ด้านการตลาด ด้านการเงิน ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และด้านการจัดซื้อ ที่ระดับนัยสำคัญ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). รายงายประจำปี 2563. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564 จากhttps://www.dbd.go.th/ news_view.php?nid=469416588

จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2561). กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานทางการตลาดหลักฐานเชิงประจักษ์จากธุรกิจบริการในประเทศไทยบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัฐวศา สุทธิธาดา. (2559). ONLINE MARKETING ใครๆ ก็ทำได้ชนะใจลูกค้า เหนือกว่าคู่แข่ง.กรุงเทพมหานคร: วิตตี้กรุ๊ป.

นลินี พานสายตา,ประวีณา คาไซและจตุพล จรูญโรจน์ ณ อยุธยา. (2561). กลยุทธ์การบริหารร้านอาหารและเครื่องดื่มแบบฟู้ดทรัคให้ประสบความสำเร็จ. สำนักวิชาบริหารธุรกิจและศึกษาทั่วไป วิทยาลัยดุสิตธานี.

รัฐนันท์ พงศ์วิรุทธิ์ธร และสุรชัย อุตมอ่าง. (2554). การบริหารความได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อความสำเร็จในการดาเนินการของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. หลักสูตรฃบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ภาคพายัพ.

ปริญ ลักษิตามาศ. (2561). กลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างคุณค่าการรับรู้อาหาร ไทยประยุกต์สู่อาเซียน.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.

พุฒิพงศ์ เอี่ยมสินธร. (2561). เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัย รัตนบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชา: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สำนักงาน . “รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2560 ปี ที่ 9 ฉบับที่ 12.

Hair,et al., (2010). Multvariate data analysis: A global perspectivc.(7th edition). New Jersey, NJ: Pearson education Inc.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory (2nd ed.) New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statisties: An Introductory Analysis. (3rd th.). New York: Harper and Row.