การพัฒนาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ ผ้าปักชาวเขา จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

สุทธีรา คำบุญเรือง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชาวเขาของกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน และเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาสู่อัตลักษณ์ร่วมสมัยของกลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ยึดถือกระบวนทัศน์การตีความ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในพื้นที่หมู่ 9 ตำบลสักงาม และหมู่ 9 บ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 40 คน มีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลตามหลักงานวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร อนุรักษ์ลายแบบโบราณในศูนย์หัตถกรรมเครื่องเงิน นำเทคโนโลยีทันสมัยสำหรับแปรรูปผลิตภัณฑ์หัตถกรรมผ้าปัก และเครื่องใช้สอยในรูปแบบต่างๆ มิติมนุษย์กับธรรมชาติ ออกแบบลวดลายเลียนแบบธรรมชาติ มิติมนุษย์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใส่ผ้าปักในงานประเพณีปีใหม่ และมิติมนุษย์กับมนุษย์ในประเพณีแต่งงานแสดงถึงฐานะครอบครัว กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนจึงนำ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนมาสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ส่วนศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าปักชนเขา แสดงให้เห็นถึงการใช้สีสัน การแต่งกายตามจารีตประเพณี หรือในพิธีกรรมที่ชายหญิงต้องการแต่งกายตามพิธีอย่างเคร่งครัด การปักผ้าของชาวเมี่ยนยังแสดงถึงวิถีชีวิตที่ผู้หญิงจะต้องปักผ้าให้สมาชิกในครอบครัวสวมใส่ และสืบทอดเป็นวัฒนธรรมต่อกันมา ส่วนศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้กำหนดประสิทธิผลของเป้าหมายและผลที่เกิดจากการร่วมมือมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการแปรรูปผ้าชาวเขาเพื่อจัดจำหน่ายแบบการมีส่วนร่วมของสมาชิก การบริหารจัดการโดยชุมชนตนเอง มีการตั้งคณะกรรมการกลุ่มหัตถกรรมผ้าปักชาวเขา เน้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบการจัดการความรู้หัตถกรรมผ้าปักชาวเขา และการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสมาชิกและระหว่างกลุ่มวิสาหกิจอื่น มีการดำเนินงานอย่างมีภาวะผู้นำของประธานกลุ่ม สามารถชี้นำและชักนำ กล้าตัดสินใจ กระจายข้อมูลข่าวสาร เสียสละมีความคิดสร้างสรรค์เชิงพัฒนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมได้ มีความรับผิดชอบต่อสังคมการดำเนินงานในลักษณะเชิงวัฒนธรรมและสังคมท้องถิ่นกับวิสาหกิจชุมชนไม่มุ่งแสวงหาผลกำไรเกินไป ส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิกสูงอายุในชุมชนมีรายได้เสริม ที่สำคัญผ้าปักของชาวเขาเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชาวเขา ออกแบบพพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และยกระดับผลิตภัณฑ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในยุค COVID-19 ผ้าปักชาวเขาเผ่าเมี่ยนเป็นไปตามการพึ่งพาตนเอง โดยคณะวิจัยได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าปักเป็นสินค้าหลากหลาย เช่น กระเป๋าสตางค์ กิ๊บติดผม พวงกุญแจและจัดช่องทางการตลาดออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้า ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงยังเป็นการนำเสนออัตลักษณ์ของชาวไทยภูเขากลุ่มชาติพันธุ์อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2545). สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาครอบครัวญวน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจมส์ แอล. เครย์ตัน. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของ ประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมี ส่วนร่วม (วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล และ เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี, ผู้แปล). ขอนแก่น : โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีสะเกษเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ชวโรจน์ ศรีทน. (2557). การจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์จากเหล็กน้ำพี้ ในตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์. งานนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

เดชวิทย์ นิลวรรณ. (2555). การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประเวศ วะสี. (2547). ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย: ทิศทางใหม่ของการศึกษา. ในเอกสารประกอบการอบรมทิศทางการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนพงศ์ สุกิจปาณีนิจ. (2552). ทุนทางสังคมกับ การพัฒนาประเทศ. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนาสังคมและสวัสดิการ, กรม. (2545). การศึกษาเรื่องโครงการศึกษารูปแบบการเสริมสร้างเครือข่ายพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

พยัค วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรมจากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Innovation Management Conceot & Best Practice).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชิต นันทสุวรรณ. (2544). แผนแม่บทการพัฒนาวิสาหกิจ. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์.

วัชรินทร์ จรุงจิตสุนทร. (2548). หลักการและแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้าพริ้นติ้งกรุ๊ป.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผล ของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรกาฬสินธุ์, 2(3), 68-85.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ . (2560). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สำนักวิชาการ. (2561). เอกสารวิชาการ Academic Focus การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนจากภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2557). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการแปรรูปหน่อไม้ ของชุมชน บ้านพุเตย จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการเมืองการปกครอง 4 (2): 241-158.

อรทัย อินตา. (2561). การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น : การจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

อารี วิบูลย์พงศ์ และคณะ. (2549). ร้อยแปดวิสาหกิจ (ใน) ชุมชน แนวการวิจัยกลยุทธ์กรณีศึกษา. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรคณะเกษตรศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โอกามา จ่าแกะ. (2560). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมผ้าปักชาวเขาสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยภูเขาชนเผ่าม้งและเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(3), 52-70.

Department of Cultural Promotion. (2015). Handbook for proposals to register national cultural heritage. Bangkok: Author.

Forcadell, F. and Guadamillas, F. (2002). A case study on the implementation of a knowledge management strategy oriented to innovation. Knowledge and Process Management, 9(3): 162-171.

Lenzerini, F. (2011). Intangible cultural heritage: the living culture of peoples. European Journal International Law, 22 (1), 101-120.

The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2009). Hoi An protocols for the best conservation practice in Asia: Professional Guidelines for assuring and preserving the authenticity of heritage site in

the context of Asia. Bangkok: Author.

The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2017). Cultural heritage and sustainable development. (Poonsak Aekrojanakun, Translator). Bangkok, Thailand: Author.