การพัฒนากลุ่มอาชีพแม่บ้าน หมู่บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก

Main Article Content

สิรินพร เกียงเกษร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวการพัฒนากลุ่มอาชีพแม่บ้านในหมู่บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก และ           2) ส่งเสริมและพัฒนากลุ่มอาชีพแม่บ้านในหมู่บ้านลานสาง ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มอาชีพแม่บ้าน จำนวน 30 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปอุปนัยและสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วม ผลการสำรวจความคิดเห็น พบว่ามีความต้องการได้รับการพัฒนากลุ่มอาชีพแม่บ้าน พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม ทันสมัย ให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และพัฒนาส่งเสริมด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการสร้างตลาดออนไลน์สร้างรายได้ ซึ่งต้องการให้มีการอบรมความรู้ 2) พัฒนาศักยภาพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดำเนินการประชุมระดมสมองร่วมกัน และฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มอาชีพแม่บ้านที่มีความสนใจ โดยมีคณะนักวิจัยและวิทยากรช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้จนสามารถปฏิบัติได้และนำไปดำเนินการได้เองร่วมจัดทำตราสัญลักษณ์ ฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ให้สวยงาม ทันสมัย ฝึกอบรมวิธีการสร้างตลาดออนไลน์สร้างรายได้ และรวมไปถึงการวางแผนการดำเนินงานเชิงธุรกิจและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3) การติดตามและประเมินผล พบว่า การผลิตและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเชิงธุรกิจประสบความสำเร็จ ทำให้เกิดการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้วยตลาดออนไลน์ กลุ่มอาชีพแม่บ้านมีความพึงพอใจในผลการดำเนินงานเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ข้อ 2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม. หน้า 19.

จรัญญา วงษ์พรหม และคณะ. (2558, พฤษภาคม 24). กลไกการส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุที่เป็นแรงงาน นอกระบบ. รายงานการวิจัย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น, หน้า 6.

พิรารัตน์ สุวรรณวงศ์. (2564, เมษายน 12). ผู้ใหญ่บ้าน. ข้อมูลประชากร หมู่บ้านลานสาง. สัมภาษณ์.

พัฒนะพงศ์ ลาพงค์. 2555. “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการสนับสนุนกลุ่มอาชีพให้เข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย” รายงานการค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. หน้า 170.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน, ตำบลแม่ท้อ:ลักษณะพื้นที่และพลวัตสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ เมษายน 8, 2564, จาก https://web.codi.or.th/20190829-8400/.

สันติ ช่างเจรจา และคณะ. 2563. กระบวนการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมของชุมชนปกาเกอะญอ: กรณีศึกษาบ้านแม่ปอดี จังหวัดตาก. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. 4 (2), 59-68.

Board Phon Sai Village. (2016). Community Plan. Loei : n.p.

Tahom, T., Otaram, T., and krotram, A. (2019). “Guidelines for participatory product development of Ban Bua Nam Prik Group, Ban Bua Subdistrict, Mueang District, Buri Ram Province”. Ramkhamhaeng University Journal. Humanities Edition. 38(1). [In Thai]

Thinabut, Pr. (2016). “Importance of packaging design”. Retrieved April 9, 2021, from http://www.creativekanchanaburi. blogspot.com. Retrieved January 25, 2018. [In Thai]

Duncan, T. (2002). IMC Using Advertising & Promotion to Build Brands. Boston : McGraw-Hill.

Keller, K.L. (2003). Strategic brand management : Building and managing brand equity. New Jersey : Prentice Hall.

Kanchanaphruek, Ch. (2007). Guidelines for local product development, Nakhon Ratchasima province. Master of Arts Thesis, Graduate School, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. [In Thai]