ภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏใน วรรณกรรมแปลเรื่อง ฮาจิโกะ

Main Article Content

ประภัสสรา ห่อทอง
จิราพร ภูวรัตนาวิวิธ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนทางสังคม จากวรรณกรรมแปลเรื่องฮาจิโกะ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ในวรรณกรรมแปลเรื่อง  ฮาจิโกะ มีภาพสะท้อนสังคมทั้งหมด 5 ด้าน คือ
1.ภาพสะท้อนสังคมด้านความเชื่อ  พบว่า มีความเชื่อเรื่องผี ความเชื่อเรื่องสี ความเชื่อเรื่องตัวเลข และความเชื่อเรื่องดอกไม้ 2.ภาพสะท้อนสังคมด้านวัฒนธรรม พบว่ามีภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมด้านศิลปะ การแต่งกาย เครื่องดื่ม เครื่องดนตรี และเพลงพื้นบ้าน 3.ภาพสะท้อนสังคมด้านศาสนา พบ ศาสนาชินโต และ พิธีศพของชาวญี่ปุ่น 4.ภาพสะท้อนสังคมด้านประเพณี พบประเพณีวันปีใหม่ และวันโคโดโมะ 5.ภาพสะท้อนสังคมด้านวิถีชีวิต พบ ด้านการประกอบอาชีพ การคมนาคม และอาหารการกิน โดยพบภาพสะท้อนสังคมด้านวัฒนธรรมมากที่สุด จำนวน 5 เรื่อง ส่วนด้านที่พบน้อยที่สุดมีอยู่ 2 ด้าน คือ ภาพสะท้อนสังคมด้านศาสนาและภาพสะท้อนสังคมด้านประเพณี มีอยู่ด้านละ 2 เรื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจตนา นาควัชระ. (2521). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งวรรณคดี. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.

ชมนาด ศีติสาร. (2561). คติชนวิทยาญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). นวนิยายกับสังคมไทย (2475-2500). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รู้จัก ฮาจิโกะ (Hachiko) : สุนัขผู้ซื่อสัตย์แห่งชิบูย่า .(2564). เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2566,จาก https://chillchilljapan.com /dictionary/hachiko/

วนิดา บำรุงไทย. (2544). ศาสตร์และศิลป์แห่งนวนิยาย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิกิพีเดีย .(2566). ฮาจิโก. เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ฮาจิโก.

หลุยส์ พรัทส์. (2564). ฮาจิโกะ. กรุงเทพ ฯ : พิคโคโล อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พัลลิชชิ่ง.

เอมอร นิรัญราช. (2539). ทัศนะทางสังคมในนวนิยายไทยสมัยรัชกาลที่ 7 .กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ.