ประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่ามกลางวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ในจังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์
วัชรินทร์ ชาญศิลป์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดนราธิวาสต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดนราธิวาสต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดนราธิวาสต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกพหุ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคัล โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการรับรู้จากสื่อดั้งเดิมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ สื่อบุคคล และสื่อสังคมออนไลน์น้อยที่สุด ส่วนความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดนราธิวาสต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ผลงานด้านความมั่งคั่ง ผลงานความยั่งยืน และผลงานด้านความมั่นคงจากวิกฤตโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 อยู่ในระดับต่ำ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุของกลุ่มตัวอย่างมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะที่เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อาชีพ และศาสนา ไม่มีอิทธิพล  นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เปณิษฌา โสภาเจริญ. (2561). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา : ศึกษากรณีชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2561. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2547). ระบบการเมือง : ความรู้เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชญ์ บุษยบัณฑูร. (2563). ทัศนคติของคนกรุงเทพมหานครที่มีต่อการดําเนินนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557–2562: กรณีศึกษานโยบายด้านระบบขนส่งมวลชนทางราง. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

เสาวรักษ์ หงษ์ไทย. (2561). ภาวะผู้นำที่มีผลต่อประสิทธิผลของงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามเจตคติของประชาชน: กรณีศึกษาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), หน้า 85-99.

วฐิวรา โรจนสกุลเกตุ. (2556). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการดำเนิน นโยบายของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร : ศึกษากรณีชาวจังหวัดอุบลราชธานี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.

วรัท พฤกษากุลนันท์. (2550). ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency & Effectiveness) ออนไลน์ เข้าถึงใน http://peenet.blogspot.com/2008/07/ efficiency-effectiveness administrator.html. สืบค้นเมื่อ14 มิถุนายน พ.ศ. 2553.

วัชริน ขวัญพะงุ้น. (2553). ความหมายของประสิทธิภาพและประสิทธิผล. ออนไลน์เข้าถึงใน http://gotoknow.org/blog/watcharin2008/226830. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2547). เอกสารการสอนชุดวิชา หลักกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานและภาพรวมของหลักกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2532). สังคมวิทยาการเมือง : หลักการและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

อมร รักษาสัตย์. (2544). การเมืองการปกครองไทย ตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ : สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน.

อณิกร ดอนแก้ว. (2561). การรับรู้นโยบายสาธารณะของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ของบุคลากรสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Becker, S. and Neuhauser, D. (1975). The Efficient Organization. New York: Elsevier Scientific Publishing Co,.

Brown, F.G. (1983). Principle of Education and Psychological Testing. 3rd ed., New York: CBS College Publishing,14.

Caplow, Theodore. (1964). Principle of Organization. New York: Barcourt Brace&World.

Chase, C. J. (1987). Measurement for Educational Evaluation. 2nd ed., Massachusetts: Addison-Wesley Publishing Company, 7.

Cronbach, L.J. (1963). Course Improvement Through Evaluation. Teacher College Record, 64, 672-683.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences, (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Cochran, W. G. (1963). Sampling techniques, (Second Edition).New York: John Wiley and Sons, Inc

Edgar H. Schein. (1970). Organizational Psychology. 2nd. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall, Inc. Encyclopedia of Education Evaluation. San Francisco: Jossey –Bass.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw- Hill Book Company, 220. Gross, Bertrom M. “What are your Organization’s Objective? A General Systems Approach to planning”, Human Relations. (Vol.18, Aug 1965) p. 195-215. Reprinted in Water R. Word (ed.), Concept and Controversy in Organizational Behavior. Pacific Polisader, Calif Goodyear Publishing Co, 1972: 302-310.

Katz , Daniel and Kahn Robert L. (1978). The Social Psychology of Organization. 2nd ed. New York: John Wiley & Sons.

Lawrence, Paul R. and Lorsch, Jay W. (1967). Organization and Environment: Managing Differentiation and Integration. Boston: Division of Research, Graduate School of Business Administration, Harvard University.

Millet. D. John. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw Mill Book Company.

Mehrens, W.A. & Lehman , I.J. (1984). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. 3rd .ed., Japan: HOLT, Rinehart and Winston,5.

Page, G.I. &Thomas , J.B. with Marshall, A.R. (1977). International Dictionary of Education. London : Kogan Page Ltd., 26.

Parsons,Talcott (1964). Suggestion for a Sociological Approach to the Theory of Organizations in Complex Organizations: A Sociological. Reader by Amitai Etzioni.New York: Holt, Rinchart & Winston.

R. Carré de MALBERG. (1920). Contribution á la Théorie générale de l’Etat. Paris : Sirey,

Rossi, P.H. and Freeman, H.E. (1982). Evaluation: A Systematic Approach. Bevely

Simon A. Herbert. (1960). Administrative Bahavior. New York: McMillet Company. Hills, California: Sage Publications, Inc.

Scriven, M.S. (1967). The Methodology of Evaluation. In Perspectives of Curriculum Evaluation (AERA Monograph Series on Curriculum Evaluation, No. 1). Chicago: Rand Mc Nally.

Seldin, Peter. (1988). Evaluation and Developing Administration Performance. San Francisco: Jossey-Bass.

Shertzer, B. & linden,J.D. (1979). Fundamentals of Individual Apprisal. Boston: Houghton Mifflin Company, 13. 95

Stufflebeam,D.L., et al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: Peacock.

T.A. Ryan and P.C. Smith. (1954). Principle of Industrial Psychology. New York: Holt, inchart and Winson.

WADE. H.W.R. (1980). Administrative Law. Fourth Edition. Oxford : Clarendon Press, Yuchman, E. and Seashor;S.E. (1967) “A System Resource Approach to Organizational Effectiveness”. Adminstative Science Quarterly. (Vol. 32, Dec, 1967). Reprinted in Gobson, et.al,op.cit., p. 154.