การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน

Main Article Content

อุไรวรรณ ปานทโชติ
ยุภาดี ปณะราช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ นักศึกษาวิชาชีพครูสาขาคณิตศาสตร์ และนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อคณิตศาสตร์ และแบบวัดความใฝ่เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


            1) การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก ที่มีความแปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิมและแตกต่างจากคนอื่น หรือมีการปรับปรุงวิธีคิดตลอดเวลาโดยพิจารณาถึงวิธีการคิดหาคำตอบหลายๆ วิธี และสามารถหาคำตอบหลายๆ คำตอบได้อย่างรวดเร็วในเวลาที่กำหนด มี 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความสนใจ การสร้างความรู้ การสร้างการเรียนรู้เป็นกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสรุปความรู้ การฝึกทักษะ และการชื่นชม


            2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ในระดับดี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.53 รองลงมาเป็นระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 16.18 และระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 5.88 ตามลำดับ นักเรียนมีเจตคติต่อคณิตศาสตร์และความใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก


            3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือปฏิบัติรายบุคคลและกิจกรรมกลุ่มที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสดงวิธีคิดและนำเสนอแนวคิดการแก้ปัญหาในสถานการณ์ปัญหาใหม่ สามารถคิดหาคำตอบหลายๆ วิธี ได้อย่างรวดเร็วในเวลาที่กำหนด และแตกต่างจากคนอื่น มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความสนใจ การสร้างความรู้ การสร้างการเรียนรู้เป็นกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และชื่นชม และการสรุปความรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการนำจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

วัฒนา พาผล. (2551). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ส. เจริญการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). หนังสืออิเล็กทรานิกส์ การคิดเชิงสร้างสรรค์. สืบค้น 19 ธันวาคม 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรประเทศไทย จำกัด.

อัมพร ม้าคะนอง. (2556). การวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

Awasthi, D. (2014). Activity-based Learning Methodology can bring improvement in quality of education in India. Research paper of GLRA – Global Journal for Research Analysis, 3(August).

Bonwell, C.C. and Eison, J.A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.

Buehl, D. (2001). Classroom strategies for interactive learning. Newark, DE: International Reading Association.Ayotola, A., & Ishola, A. (2013). Preparation of Primary Teachers in Pupil-Centered Activity- Based Mathematics Instructions and Its Model. Proceeding In 1st Annual International Interdisciplinary Conference. Azores, Portugal.

Guilford, J.P. (1950). Creativity. American Psychologist. 5 (9), pp. 444–454.

Panarach, Y. (2021). Development of mathematical learning model by using activities base learning, Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12(8), pp. 2712-2720.

Torrance, E.P. (1973). Education and the creative potential. Minneapolis: The lund Press.