การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification) เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา

Main Article Content

ขนิษฐา โลหะประเสริฐ
เฉลิมชัย มนูเสวต
ชุติมา ทัศโร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนโรงเรียนราษฎร์บำรุง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 23 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านคำภาษาไทย โดยใช้คำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ของชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย โดยใช้สูตร E1/E2 สถิติ (t-test) ชนิดกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 83.08/85.07 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) พบว่า ความสามารถทางการอ่านคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ตั้งไว้ 3) ความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านร่วมกับเทคนิคเกมิฟิเคชัน (Gamification Techniques) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา ปราบพาล. (2562). การพัฒนาทักษะการอ่านสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง คำที่ประสมด้วยสระกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยาลัยการศึกษาสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา

กรองกาญจน์ อรุณรัตน์. (2554). ชุดการเรียนการสอน. เชียงใหม่ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ขวัญนภา บุญนิธี. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการอ่านสะกดคำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกวินิจฉัยเป็นรายบุคคล. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก

จารุวรรณ คงเพชร. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีปัญหาด้านการอ่าน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 9(25), 1-8.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2556). การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : โดเดียนสโตส์.

จรัสกร เล็กตระกูล. (2553). การศึกษาความสามารถอ่านคำและความสนใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จากการใช้ชุดพัฒนาทักษะการอ่าน. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กรุงเทพมหานคร.

บรัสกร คงเปี่ยม. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเนศวร. พิษณุโลก

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชา พลมาตย์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียง โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านแจกลูกสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารปัญญา มมร วิทยาเขตล้านนา. 26(2), 1-10.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

ฟอร์มแมน. (2013). How to Mind Map. สืบค้นจาก : <http://www.mindmapinspiration.com> 16 มีนาคม 2565.

ยุไก. (2013). What is gamification. สืบค้นจาก : <http://www.yukaichou.com/gamification-examples/what-is-gamification> 15 กุมภาพันธ์ 2565.

รชยา ภูตะมาตย์. (2559). การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านสำกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม

รุ่งอรุณ โรจน์รัตนาดำรง ไชยศรี. (2561). การศึกษาปัญหาการเรียนอ่านเขียนของนักเรียนไทยและนักเรียนต่างด้าวและการแก้ปัญหาด้วยแบบเรียนที่พัฒนาตามแนววิธีสอนแบบโฟนิกส์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภชัย ปานเกษม. (2560). การใช้เทคนิคเกมมีฟิเคชั่นเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหลวงจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนและเทคโนโลยีการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือบริหารจัดการ เวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. กรุงเทพฯ.