ศิลปะการเข้าใจคนแต่ละประเภทตาม “DISC Model” เพื่อความสำเร็จขององค์กร

Main Article Content

สุวภัทร หนุ่มคำ
จุมพล หนิมพานิช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ เพื่อเรียนรู้และเข้าใจความแตกต่างของ 4 บุคลิกภาพที่แตกต่างกันของมนุษย์ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการเข้าใจตนเองและผู้อื่น พร้อมทั้งการปรับตัวรับมือกับคนแต่ละประเภท และเพื่อสามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาตนเอง รวมถึงการทำงานแบบทีมเวิร์ค ซึ่งเป็น Soft Skill ที่สำคัญในยุคปัจจุบันที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญ  “DISC Model” คือ ลักษณะบุคลิกภาพของคนแต่ละประเภทที่สังเกตได้จากนิสัยการทำงานและสภาพแวดล้อมของคนแต่ละประเภท  ซึ่งได้มีการจำแนกพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 4 ประเภทตามตัวอักษร DISC  ได้แก่ D (dominance), I (influence), S (steadiness), C (conscientiousness)


            บทความนี้มีการนำ “DISC Model” มาประยุกต์เปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ของสัตว์ 4 ชนิด เรียกว่า “DISC Personality” คือ คุณลักษณะที่ใช้ทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์จากสัญลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ เป็นการเปรียบเทียบลักษณะบุคลิกภาพของสัตว์ 4 ชนิด ได้แก่ กระทิง, นกอินทรี, หนู, และหมี ทั้งนี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ DISC จะสามารถจับคู่ได้ ดังต่อไปนี้ 1) กระทิง (Dominance) 2) อินทรี (Influence) 3) หนู (Steadiness) และ 4) หมี (Compliance) ซึ่งเห็นว่าการแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ไม่ได้เป็นการบอกว่าแบบใดดีกว่าหรือแย่กว่า ไม่ได้มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ดียอดเยี่ยมที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละรูปแบบล้วนแล้วแต่มีจุดเด่นและจุดด้อยที่ต่างกัน ฉะนั้นแล้วผู้ที่นำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้จึงควรใช้ประโยชน์จากจุดเด่นจุดด้อยที่พบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานให้กับองค์กรให้มากที่สุด


            บทความนี้เป็นบทความทางวิชาการ ที่ต้องการศึกษาความแตกต่างของบุคลิกภาพของมนุษย์เพื่อการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรับรู้และเข้าใจตนเองและผู้อื่น ในส่วนของประโยชน์ที่ได้จากการศึกษา “DISC Model” ในแง่มุมของผู้บริหาร ผู้บริหารสามารถใช้ประโยชน์กับ “DISC Model” ในการพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร รู้จักและเข้าใจพนักงานในองค์กรมากขึ้นว่าแต่ละคนมีบุคลิกลักษณะแบบใดมีจุดแข็งที่สามารถดึงมาสร้างประโยชน์ และรู้จุดอ่อนที่ควรหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เป็นประโยชน์ในแง่ของการมอบหมายงานที่ตรงกับบุคลิกลักษณะและความถนัดของแต่ละคน สามารถใช้วิธีการจูงใจคนได้ถูก และที่สำคัญเป็นเรื่องของการ “อ่านคนออกบอกคนเป็น” ในแง่มุมของพนักงาน  แต่ละคนจะได้เรียนรู้จุดเด่น จุดด้อยและลักษณนิสัยของเพื่อนร่วมงานก็เหมือนเป็นการได้รู้จักตัวตนของเพื่อนร่วมมากขึ้น ทำให้เข้าใจและยอมรับในลักษณะนิสัยของกันและกัน ส่งผลให้การทำงานราบรื่นมากขึ้น ลดปัญหาความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นต่อการทำงาน สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม ในแง่ของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ สามารถใช้ “DISC Model” ในการบริหารดูแลพนักงาน เพิ่มศักยภาพและพัฒนาประสิทธิภาพของบุคคากร ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถที่จะจัดหลักสูตรการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรได้อีกด้วย นอกเหนือจากนั้นในแวดวงการศึกษาในฐานะครู อาจารย์ สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อเรียนรู้ผู้เรียนแต่ละคน ทำให้สามารถเข้าใจลักษณะพฤติกรรม บุคลิกลักษณะของผู้เรียนของตนเองได้ เป็นประโยชน์ในแง่ของการมอบหมายงาน ฝึกให้นักศึกษาได้มีทักษะในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกัน และค้นพบตัวตนของตัวเองได้เร็วมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤตเมธ พรหมนิยะ. (2563). สรุป “สัตว์ 4 ทิศ” เครื่องมือที่ช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองและผู้อื่นมากขึ้น!. เข้าถึงได้จาก https://krittamate

.medium.com/. [26 พฤษภาคม 2566].

จิรภิญญา จิรไพศาลกุล. (2562). บุคลิกภาพที่ส่งผลต่อความต้องการคุณลักษณะงานของพนักงานบริษัทเอกชนกลุ่มเจเนอเรชันวาย. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ชยภรณ บุญเรืองศักดิ์. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายการพัฒนาทักษะ Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ธรรมนิติ. (2551). คน 4 ทิศ ทิศไหนคือคุณ?. จาก https://www.dst.co.th/index.php?option=com_

content&view=article&id=3763:person-4-direction-it-you&catid=29&Itemid=180&lang=en. [23 พฤษภาคม 2566].

วิจิตรา จามจุรี. (2561) การเข้าใจตนเองและผู้อื่น. เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษย์สัมพันธ์และการพัฒนาบุคลิกภาพ. มหาวิทยาลัยสยาม

วรรณี งามขจรกุล. (2562). การเข้าใจ เข้าถึงผู้เรียนยุคดิจิทัลด้วย DISC Model. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สุนันทา ปานณรงค. (2557). เครื่องมือจำแนกพฤติกรรมบุคคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร

ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เอมอร กฤษณะรังสรรค์, เทคนิคและวิธีการในการพัฒนาตน. เข้าถึงไดจาก http://www.geh2001.ssru.ac.th/file.php/1/u5.pdf. [26 พฤษภาคม 2566].

DISC-U. (2555). About DISC Model. เข้าถึงได้จาก https://www.disc-u.net/about.php. [23 พฤษภาคม 2566].

HR, (2019). สำรวจพฤติกรรมการทำงานกับ คน 4 ประเภท ไปกับ DISC Model เข้าถึงได้จาก https://th.hrnote.asia/personnel-management/220521-disc-model/. [23 พฤษภาคม 2566].

My Career. (2559). DISC Model. เข้าถึงได้จาก https://www.mycareer-th.com/res_disc_model.php. [23 พฤษภาคม 2566].