การจัดการระบบสารสนเทศชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

นารถนรี เฟื่องอิ่ม
อรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์
อนุชา พวงผกา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ 2) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ฐานข้อมูล และ3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน  ประชากรที่ใช้ คือตัวแทนหรือผู้นำชุมชน และผู้ที่เข้าใช้ระบบฐานข้อมูล รวมจำนวน 57 คน  เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกชนิดกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาสรุปความ เชิงปริมาณใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศนั้น ผู้ประกอบการในชุมชนไม่เคยผ่านการอบรมหรือศึกษาดูงาน ผลิตภัณฑ์ชุมชนส่วนใหญ่คือ ร้านอาหาร สิ่งประดิษฐ์ และผ้าทอ การประกอบอาชีพของชุมชนคือ ผู้ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดั่งเดิมจะสืบทอดจากบรรพบุรุษ ส่วนผลิตภัณฑ์ใหม่คือได้จากศึกษาทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์คือผลิตจากธรรมชาติ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาที่พบภายในชุมชนคือ ขาดการประสัมพันธ์ และผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาดไวรัสโคโรน่า 2) การจัดทำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คือผู้ใช้บริการเข้าถึงฐานข้อมูลโดยได้รับการแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ใช้ฐานข้อมูล  วัตถุประสงค์ของผู้ใช้บริการคือต้องการสืบค้นข้อมูลความรู้เฉพาะเรื่องที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงเว็บไซต์มากที่สุดคือ สมาร์ทโฟนและโน็ตบุ๊ค ซึ่งสามารถได้ข้อมูลตรงตามตวามต้องการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน ศึกษาค้นคว้า และการประชาสัมพันธ์ 3) การประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการฐานข้อมูลสารสนเทศ คือการใช้บริการฐานข้อมูลด้านเนื้อหาและข้อมูลข่าวสารเพราะง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลในระดับมากที่สุด( x̅=4.51) และรูปแบบคุณภาพการนำเสนอฐานข้อมูลอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅=4.52) ผู้ใช้บริการมีข้อเสนอแนะคือต้องการให้อัพเดทข้อมูลใหม่ๆเสมอ และพัฒนาเป็นสองภาษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก จันทร์เกตุ (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัดประจำปี 2558. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://www.phai13.com/learning/learningbase/03information .[2565, สิงหาคม 20].

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). คลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://huso.kpru.ac.th/khlonglanpattana/?page_id=1&lang=TH [2565, กันยายน 22].

ชัญญานุช สายัณ (2556) การจัดเก็บข้อมูล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/kwangkixengni/kar-cadkar-khxmul [2565, กันยายน 22].

จารุณี ภัทรวงษธนา, สุพัฒนวรี ทิพยเจริญ และพงศกร จันทราช (2560, ตุลาคม - ธันวาคม). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำหรับการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในพื้นที่ชุมชนเมืองตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับการบริหารจัดการชุมชนแบบมีสวนร่วมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. วิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 11(4), 168 - 146.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). กำรจัดกำรกำรท่องเที่ยวโดยชุมชน. การท่องเที่ยวไทยนานาชาติ,13(2), 27.

ณัฐนนท์ ลำสมุทร. (2556). ระบบสารสนเทศชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://itknowleage.wordpress.com .[2565, สิงหาคม 20]

ดาสต้า ซีบีที. (2558) การท่องเที่ยวโดยชุมชน [วีดีโอ]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.youtube.com/watch?v=3jXbjxviTNw [2565, กันยายน 25].

ทวีสินธุ์ ตั้งเซ่ง. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดสตูล ปริญญาดุษฏีบัณฑิต การจัดการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยพะเยา.

เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง. (2553). สารสนเทศชุมชนแนวคิดเพื่อการจัดการ. บรรณศาสตร์, 3,126.

พริ้มไพร วงษ์ชมภู (2559) การพัฒนาระบบสารสนเทศในงานธุรกิจ. เชียงใหม่: ภาควิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์.

พิมพ์ระวี โรจน์รุ่งสัตย์. (2553). การท่องเที่ยวชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเอสพริ้นติ้ง

มาลีรัชต์ ฉานสูงเนิน (2555). การสร้างเครือข่ายสารสนเทศชุมชนของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดปทุมธานี ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวทิยาลัยรามคำแหง

รุชริกา วิทยาวุฒิกุล. (2555) ระบบสารสนเทศชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://ruchareka.wordpress.com/2011/04/22/ [2565, สิงหาคม 22].

รุ่ง หมูล้อม และคนอื่นๆ (2560) การพัฒนาระบบสารสนเทศหมู่บ้านแม่ระวาน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4. 22 ธันวาคม 2560. กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.

วรัมพร ศรีเนตร และ ภาชญา เชี่ยวชาญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับบริการการเดินทางด้วยรถตู้โดยสารประจำทาง สายภาคตะวันออก ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 . 19 มกราคม 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

วิกิพีเดีย (2564). ระบบสารสนเทศชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://th.wikipedia.org/wiki. [2565, สิงหาคม 22].

วิกิพีเดีย. (2565). อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ [2565, กันยายน 22].

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียน การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ สำหรับครูผู้สอนระดับ ชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. นครปฐม:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริรัตน์ ชำนาญรบ และบุญธรรม พรเจริญ (2561). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ชุมชน ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

สราวุธ พงษ์ลี้รัตน์ (2558). เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์: แบบจำลองหมู่บ้านแม่กลางหลวง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยฟาอิสเทอร์น.

สำนักงานจังหวัดกระบี่. (2560). หลักการของการพัฒนาท่องเที่ยวโดยชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ จาก: www.krabi.go.th/krabi2015/m_file/lifetravel/25.pdf. [2565, กันยายน 25].

หฤทัย อาษากิจ และลัดดา ปินตา (2559). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนบ้านสันต้นเปา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่.

Friedland, L. A. (2016, October 28). The Communication Crisis in America and How to Fix it. 3-15.

Sarkar, S. K. & George, B. (2018, May 2) Social media technologies in the tourism industry: an analysis with special reference to their role in sustainable tourism development. International Journal of Tourism Sciences, 4(8), 269-278.

Ramaano, A. I. (2022, Jan 17). Local Development & Society. [online]. Available: https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/26883597.2021.2011610. [2022, August 20]

Troshin, A. S. et al. (2020). Information Technology in Tourism: Effective Strategies for Communication with Consumers. Journal of Environmental Management and Tourism. [online],2(42). Available: http://doi.org/10.14505/jemt.v11.2(42).10. [2022, August 23].

Xu, D., Zhang, J.H., Huang, X.& Qingyu, Y.X. ( 2022). Tourism community detection: A space of flows perspective. Fan Tourism Management, [online]. 93, Available: http://doi.org/10.1016/j.tourman.2022.104577 [2022, August 23].

Xu, Junhua (2021, May) Digital Community Management Mobile Information System Based on Edge Computing. Mobile Information Systems, [online], 1. Available: https://eds.s.ebscohost.com/eds/detail/ . [2022, August 23].

Yan, J. & Li, Z. (2022) The Integrated Development of Tourism and Cultural and Creative Industries Based on Smart City Cloud Service Information System Mobile Internet of Things (IoT) Multi-sensor Data Fusion. [online]. Available: https://doi.org/10.1155/2022/4064821. [2022, August 23].